9 ขั้นตอนแชร์ไฟล์, โฟลเดอร์บนเน็ตเวิร์ค Windows 10

2
10239
9 ขั้นตอนแชร์ไฟล์, โฟลเดอร์บนเน็ตเวิร์ค Windows 10
9 ขั้นตอนแชร์ไฟล์, โฟลเดอร์บนเน็ตเวิร์ค Windows 10

สำหรับบทความ 9 ทริคกับขั้นตอนแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์บนเน็ตเวิร์ค Windows 10 ที่ทางเว็บ VarietyPC.net ได้นำมาแชร์ความรู้กันนี้จะเหมาะสำหรับเพื่อนๆมือใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้านมากกว่า 1 เครื่อง, ใช้คอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน, องค์กรต่างๆ และต้องการใช้ไฟล์งาน, ซอฟต์แวร์, ไฟล์จิปาถะหรือโฟลเดอร์ร่วมกันบนระบบเน็ตเวิร์ค (วงแลน) ส่วนตัว, เน็ตเวิร์คสาธารณะด้วย workgroup หรือโดเมนของเราได้โดยที่ไม่ต้องพกพาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพวกแฟลชไดรฟ์ต่างๆไปเสียบยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆหรือเดินไปให้เสียเวลา

ทั้งนี้เรายังสามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งานไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ถูกแชร์ให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆในระบบให้สามารถแก้ไขไฟล์หรือโฟลเดอร์ก็ได้ หรือจะให้เขาอ่านอย่างเดียวก็ได้ หรือจะให้ทำทุกอย่างเลยก็ยังได้ อีกทั้งสามารถสั่งแชร์เครื่องพริ้นเตอร์ให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบสามารถใช้งานด้วยก็สามารถทำได้

ขั้นตอนที่ 1 ตั้งค่าแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ด้วยระบบ Windows 10

ทั้งนี้ตัวเลือกนี้จะเป็นขั้นตอนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเลยที่ถ้าหากต้องการสั่งแชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์บนเครื่องนั้นให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆมองเห็นและสามารถเข้ามาเลือกใช้ไฟล์/โฟลเดอร์ได้จะต้องตั้งค่าที่ตัวเลือกนี้ก่อนเป็นลำดับแรก ทั้งนี้เราต้องตรวจสอบด้วยว่า “ชื่อคอมพิวเตอร์” หรือ Computer Name ของคอมพิวเตอร์บนระบบเน็ตเวิร์คหรือวงแลนนั้นๆต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน และ IP Address ก็ต้องไม่ซ้ำกัน

สำหรับมือใหม่มากๆควรอ่านก่อน – การตั้งค่า IP Address แบบ Auto และ Manual ใครๆก็ทำได้

แล้วเข้ามาที่หน้าต่าง File Explorer Options ต้องตรวจสอบการตั้งค่า Use Sharing Wizard (Recommended) ก่อนว่าหัวข้อนี้ได้มีการติ๊กเครื่องหมายถูกเอาไว้หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ต้องติ๊กถูกด้วย

ส่วนต่อมา ให้เข้ามาที่เครื่องมือ Services.msc ( การเรียกหน้าต่างเครื่องมือ Services.msc ขึ้นมา สามารถทำได้โดยคลิก Start -> Run ( หรือกดปุ่ม Windows + R ) แล้วพิมพ์คำสั่ง services.msc ) แล้วตรวจสอบเซอร์วิส Function Discovery Provider Host และ Function Discovery Resource Publication ว่าถูกเปิดการทำงานเอาไว้หรือไม่

Function Discovery Provider Host

Function Discovery Resource Publication

มาสำรวจตรวจสอบเซอร์วิส Function Discovery Provider Host และ Function Discovery Resource Publication ที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์กันด้วยว่ามีการกำหนดการทำงานให้เซอร์วิสทั้งสองมีการเลือกประเภทให้เป็น Automatic และสถานะเป็น Start หรือไม่ ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ ก็ต้องกำหนดค่าให้ด้วย

ในส่วนต่อมา ให้เข้าไปที่ Control Panel -> Network and Sharing Center -> Change advanced sharing settings

สังเกตที่หัวข้อ Guest or Public (current profile)

– Network discovery จะต้องกำหนดค่าให้เป็น Turn off network discovery (ค่ามาตรฐานจะถูกกำหนดให้เป็น Turn on network discovery)

– File and printer sharing จะต้องกำหนดค่าให้เป็น Turn on file and printer sharing (ค่ามาตรฐานจะถูกกำหนดไว้ที่หัวข้อนี้อยู่แล้ว)

ที่หัวข้อ Private ค่ามาตรฐานจะถูกกำหนดไว้ดังนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องปรับแต่งแก้ไขใดๆ

ส่วนหัวข้อ All Networks

– Public folder sharing ให้เลือกเป็น Turn off Public folder sharing (people logged on to this computer can still access these folders)

– File sharing connections ใช้เป็นค่ามาตรฐาน Use 128-bit encryption to help protect file sharing connections (recommended) ไม่ต้องแก้ไข

– Password protected sharing ให้เลือกเป็น Turn off password protected sharing ซึ่งเวลามีการเรียกเข้ามาใช้ไฟล์งาน/โฟลเดอร์โดยเครื่องอื่น จะได้ไม่ต้องใส่รหัสผ่านโดยเจ้าของเครื่องนั้นๆ แต่ถ้ามีไฟล์/โฟลเดอร์สำคัญและเป็นความลับ ถ้าไม่อยากให้คนอื่นและเข้าได้ ก็ต้องใช้เป็นค่ามาตรฐาน Turn on password protected sharing ตามเดิมครับ

ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ โดยใช้ Give access to ที่อยู่ในเมนูคลิกขวา ( Context Menu )

โดยให้เปิดหน้าต่าง File Explorer ขึ้นมา ( หรือกดปุ่ม Windows + E ) ก็ได้

แล้วคลิกขวาที่ไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ เลือก Give access to -> Specific people

โดยค่ามาตรฐานจะมีการกำหนดสิทธิ์การใช้งานให้สามารถใช้ได้เฉพาะเจ้าของเครื่องเท่านั้นที่สามารถเรียกเป็นไฟล์/โฟลเดอร์ได้ ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรายอื่นที่อยู่บนเน็ตเวิร์ค (วงแลน) สามารถเข้ามาเรียกใช้ไฟล์/โฟลเดอร์นี้ได้ ก็ต้องกำหนดสิทธิ์ใหม่

โดยเลือกเป็นหัวข้อ Everyone หรือจะพิมพ์ Everyone ลงไปเลยก็ได้ จะเป็นการอนุญาตให้ผู้ใช้งานทุกรายที่อยู่ในเน็ตเวิร์ค (วงแลน) สามารถเปิดไฟล์/โฟลเดอร์ที่ถูกแชร์ได้ แล้วกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่มสิทธิ์

ทั้งนี้หลังจากที่เราได้เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานแล้ว เรายังกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานรายนั้นๆได้อีกด้วยว่า จะให้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น (Read) ให้อ่านไฟล์/โฟลเดอร์ได้อย่างเดียว, (Read/Write) ให้อ่าน/เขียนไฟล์/โฟลเดอร์ได้ ตลอดจนถึง ถ้าไม่อยากให้ผู้ใช้งานรายนั้นๆเข้าถึงไฟล์/โฟลเดอร์นั้นๆได้อีกต่อไป ก็เพียงเลือกหัวข้อ Remove

เมื่อกำหนดค่าดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก็ให้กดปุ่ม Share

หน้าต่างถัดมา จะแจ้งสถานะว่ามีการกำหนดค่าการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Done

ขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการหยุดการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ โดยใช้ Remove access ภายใต้หัวข้อ Give access ที่อยู่ในเมนูคลิกขวา ( Context Menu )

โดยถ้าไม่อยากให้ไฟล์/โฟลเดอร์ที่เราเคยแชร์เอาไว้ มีการเข้าถึงโดยผู้อื่นบนระบบ เราก็เพียงเลือก Remove access แล้วไฟล์/โฟลเดอร์ดังกล่าวก็จะถูกหยุดการแชร์ทันที

ขั้นตอนที่ 4 เป็นการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ โดยใช้แถ็บ “แชร์” ในหน้าต่าง File Explorer

สำหรับวิธีนี้จะมีการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์เหมือนกับทริคที่ 2 กับการใช้ Give access to แต่จะแตกต่างกันก็ตรงวิธีการเรียก โดยเมื่อเปิดหน้าต่าง File Explorer ขึ้นมา ก็ให้คลิกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ แล้วคลิกแทบเมนู Share แล้วเลือกหัวข้อ Specific people

ขั้นตอนที่ 5 เป็นการหยุดการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ โดยใช้ Remove access ภายใต้แถ็บ “แชร์” ในหน้าต่าง File Explorer

โดยเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่มีการถูกแชร์เอาไว้ แล้วคลิกแถ็บ Share -> กดที่หัวข้อ Remove access 1 ครั้ง เพียงเท่านี้ไฟล์/โฟลเดอร์ดังกล่าวก็จะหยุดการแชร์ทันที

ขั้นตอนที่ 6 การแชร์โฟลเดอร์ด้วย Sharing Properties

โดยเมื่อเปิดหน้าต่าง File Explorer ( Windows + E ) ขึ้นมา ก็ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่เราต้องการจะสั่งแชร์ แล้วเลือก Properties

คลิกแถ็บ Sharing -> ที่หัวข้อ Network File and Folders Sharing คลิกปุ่ม Share…

ที่หน้าต่าง Choose people to share with โดยค่ามาตรฐานจะมีการกำหนดสิทธิ์การใช้งานให้สามารถใช้ได้เฉพาะเจ้าของเครื่องเท่านั้นที่สามารถเรียกเป็นไฟล์/โฟลเดอร์ได้ ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรายอื่นที่อยู่บนเน็ตเวิร์ค (วงแลน) สามารถเข้ามาเรียกใช้ไฟล์/โฟลเดอร์นี้ได้ ก็ต้องกำหนดสิทธิ์ใหม่..

ก็ให้เรากำหนดว่าจะให้ใครสามารถแชร์โฟลเดอร์ได้บ้าง ในที่นี้ผมก็จะกำหนดเป็น Everyone คือให้คอมทุกเครื่องสามารถเข้าใช้งานโฟลเดอร์ที่ถูกแชร์นี้ได้

แล้วกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่มสิทธิ์ผู้ใช้งาน

หลังจากที่เราได้เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานที่อยู่บนระบบเน็ตเวิร์คแล้ว เรายังกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานรายนั้นๆได้อีกด้วยว่า จะให้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น (Read) ให้อ่านไฟล์/โฟลเดอร์ได้อย่างเดียว, (Read/Write) ให้อ่าน/เขียนไฟล์/โฟลเดอร์ได้ รวมไปถึงบัญชีผู้ใช้งานรายอื่นๆที่ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันกับเราด้วย เราก็สามารถกำหนดสิทธิ์ให้รายชื่อบัญชีผู้ใช้งานนั้นๆเอาไว้ได้ที่นี่เช่นเดียวกัน

จะมีหน้าต่างแจ้งสถานะว่ามีการกำหนดค่าการแชร์ไฟล์/โฟลเดอร์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Done

เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าต่าง Properties ของโฟลเดอร์ที่ได้ทำการแชร์ไว้

ขั้นตอนที่ 7 การแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ด้วย Sharing

สำหรับขั้นตอนนี้นอกจากเราจะสามารถสั่งแชร์โฟลเดอร์ได้แล้ว เรายังสามารถสั่งแชร์ไดรฟ์ทั้งไดรฟ์ได้ด้วย เพราะไดรฟ์ของบางท่านอาจจะมีแต่ไฟล์ข้อมูลเยอะมากๆ ครั้นจะมาสั่งแชร์ครั้งละ 1 โฟลเดอร์จะทำให้เสียเวลาพอสมควร

ทั้งนี้ขั้นตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเจ้าของเครื่องที่จะทำการแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ได้นั้น จะต้องมีการเข้าสู่ระบบ Windows 10 ด้วยสิทธิ์ผู้ใช้งานเป็น Administrator ด้วยนะครับ

โดยคลิกขวาที่โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ต้องการจะแชร์ แล้วเลือก Properties

ที่แถ็บ Sharing ให้คลิกปุ่ม Advanced Sharing

ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ Share this folder

ที่หัวข้อ Limit the number of simultaneous users to: ทำการจำกัดจำนวนคอมพิวเตอร์ที่จะให้เข้ามาเรียกใช้โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราได้สั่งแชร์เอาไว้

ในส่วนของ Comments: เราจะใส่รายละเอียดของโฟลเดอร์นี้เอาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

แล้วคลิกปุ่ม Permissions เพื่อกำหนดสิทธิ์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ต้องการสั่งแชร์

แล้วคลิกเลือกชื่อคอมพิวเตอร์หรือกลุ่มที่เราต้องการแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ พร้อมกับกำหนดสิทธิ์การใช้งานว่าจะให้ Read (อ่านได้อย่างเดียว), Change (แก้ไขได้) หรือ Full Control (ทำได้ทุกอย่างเหมือนเป็นเจ้าของเครื่องที่ได้สั่งแชร์จากเครื่องต้นทางเอาไว้)

นอกเหนือจากผู้ใช้งาน Everyone ที่สามารถเข้าใช้งานโฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราสั่งแชร์ไว้ได้ทุกเครื่องแล้ว เรายังเพิ่มผู้ใช้งานที่เฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มหรือบัญชีผู้ใช้งานเพิ่มได้ และยังสามารถแยกสิทธิ์การเข้าถึงให้แตกต่างออกไปได้ด้วย โดยคลิกที่ปุ่ม Add ดังรูปด้านบน

ขั้นตอนที่ 8 การหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ด้วย Advanced Sharing

ทั้งนี้การที่เราจะหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราได้สั่งแชร์เอาไว้ บัญชีผู้ใช้งานระบบก็ต้องล็อกอินด้วยสิทธิ์ Administrator ด้วยนะครับ ไม่งั้นจะไม่มีสิทธิ์ใดๆในขั้นตอนนี้

ซึ่งการหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ในขั้นตอนที่ 8 นี้ จะใช้ได้ดีกับขั้นตอน 7 เพราะถ้าหากเรากำหนดสิทธิ์เฉพาะเจาะจงให้ผู้ใช้งานเพิ่มเติมลงไป จะสามารถหยุดการแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ต่างๆได้ ส่วนในขั้นตอนที่ 2, ขั้นตอนที่ 4 และ 6 จะไม่สามารถทำได้

โดยเปิดหน้าต่าง File Explorer ขึ้นมา แล้วคลิกขวาที่โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ต้องการหยุดแชร์ แล้วเลือก Properties

คลิกที่แถ็บ Sharing -> คลิกปุ่ม Advanced Sharing

เอาเครื่องหมายถูกออกหน้าหัวข้อ Share this folder -> แล้วคลิก Apply

ถ้าหากมีหน้าต่างแจ้งเตือนขึ้นมาว่า มีผู้ใช้งานกำลังเชื่อมต่อกับโฟลเดอร์หรือไดรฟ์ดังกล่าวอยู่และต้องการหยุดการแชร์ทันทีเลย ก็ให้กดปุ่ม Yes

แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อปิดหน้าต่างนี้

ขั้นตอนที่ 9 การหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ด้วยเครื่องมือ MMC Snap-in

สำหรับขั้นตอนที่ 9 ถ้าเราจะหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราได้สั่งแชร์เอาไว้ บัญชีผู้ใช้งานระบบก็ต้องล็อกอินด้วยสิทธิ์ Administrator ด้วยนะครับ ไม่งั้นจะไม่มีสิทธิ์ใดๆในขั้นตอนนี้

และขั้นตอนการหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ด้วยเครื่องมือ MMC Snap-in จะเหมาะกับการแชร์ไฟล์, โฟลเดอร์ หรือไดรฟ์จากขั้นตอนที่ 2, ขั้นตอนที่ 4 และขั้นตอนที่ 6 มากกว่า ส่วนขั้นตอนที่ 8 จะเหมาะกับการหยุดแชร์โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ถูกแชร์ด้วยขั้นตอนที่ 7 ครับ

ซึ่งการจะเรียกเครื่องมือ MMC Snap-in ขึ้นมาใช้งานได้ ขั้นตอนแรกก็ให้กดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเปิดหน้าต่าง Run แล้วพิมพ์คำสั่ง compmgmt.msc แล้วกด Enter

ที่แถ็บพาเนลด้านซ้าย ให้เปิดเข้าไปที่เมนู Shared Folders -> Shares ก็จะพบกับโฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราได้ทำการแชร์เอาไว้ให้คอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้รายอื่นได้ใช้งาน

ก็ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่เราได้ทำการแชร์เอาไว้ แล้วเลือก Stop Sharing

จะมีหน้าต่าง Shared Folders พร้อมกับคำอธิบาย Are you sure you wish to stop sharing <ตามด้วยชื่อโฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ถูกแชร์> ก็ให้คลิก Yes ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

ราตรีสวัสดิ์



บทความก่อนหน้านี้3 วิธี เปิด-ปิดหน้าจอ Lock Screen บน Windows 10
บทความถัดไปวิธีแก้ Error Code 0xC0000225 บน Windows 10
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

2 ความคิดเห็น

  1. ทำตามขั้นตอนที่ 7 แล้วมองเห็นไฟล์แต่ไม่สามารถเข้าดูไฟล์ได้ มันแจ้งว่า window cannot access ต้องแก้ไขยังไงต่อคะ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่