วิธีสั่งรีโมทชัตดาวน์ Windows 10 จาก Android Phone

0
6341
วิธีสั่งรีโมทชัตดาวน์ Windows 10 จาก Android Phone
วิธีสั่งรีโมทชัตดาวน์ระบบ Windows 10 จาก Android Phone

สำหรับบทความ วิธีสั่งรีโมทชัตดาวน์ระบบ Windows 10 จาก Android Phone ก็อาจจะมีไม่บ่อยนักกับการลืมปิดคอมพิวเตอร์เมื่อเราใช้งานเสร็จแล้ว โดยมานึกขึ้นได้ก็ตอนที่เตรียมนอนหรือเอนหลังนอนแล้ว และเราขี้เกียจลุกจากเตียงนอนขึ้นไปปิดคอมพิวเตอร์ในห้องทำงาน เพราะระหว่างเดินไป สมองอาจตื่นตัวและจะกลับมาหลับไม่ลงอีก

ในบทความนี้ทางเว็บไซต์วาร์ไรตี้พีซี.เน็ต ก็จะมานำเสนอวิธีการปิดคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows 10 จากระยะไกลกับเครือข่ายระบบเน็ตเวิร์คภายในบ้าน หรือเรียกอีกอย่างก็คือ การสั่งรีโมท นั่นเอง แต่การสั่งรีโมทในที่นี้จะเป็นการสั่งรีโมทจากโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ที่เราใช้งานกันอยู่ผ่านการรับสัญญาณไวไฟ ให้ทำการปิดระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่เราหลงลืมเปิดทิ้งเอาไว้ให้ปิดการทำงานหรือชัตดาวน์ระบบทันที หรือ หากต้องการทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ใหม่ ฟีเจอร์ของแอปบนโทรศัพท์มือถือก็สามารถทำได้ด้วย หรือจะสั่งให้คอมพิวเตอร์เปิดกลับขึ้นมาใหม่ก็สามารถทำได้เช่นกัน

ก่อนอื่นเราต้องมาสำรวจดูก่อนว่าในระบบปฏิบัติการ Windows 10 ของเราเนี่ยได้ติดตั้งโปรแกรม Java เอาไว้แล้วหรือไม่ (แต่โดยปกติแล้ว Windows 10 ทั่วไป จะยังไม่มีโปรแกรม Java ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเท่านั้น) หากว่ายังไม่ได้ติดตั้ง ก็ต้องดาวน์โหลดมาทำการติดตั้งก่อน เพราะเราจำเป็นต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุม และติดต่อกับแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนเพื่อสั่งชัตดาวน์, สั่งรีสตาร์ท และสั่งเปิดเครื่องใหม่นั่นเอง

โดยเมื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Java มาแล้ว ให้ทำการติดตั้งจนเสร็จเรียบร้อย แล้วทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Shutdown Start Remote มาลงบนคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วทำการคลิกขวาที่ไฟล์เพื่อเลือกเปิดด้วยโปรแกรม Java(TM) Platform

สังเกตที่มุมขวาล่างของทาสก์บาร์ Notification Area จะพบว่า Shutdown Timer ได้ถูกติดตั้งสมบูรณ์แล้ว

ก็จะพบกับหน้าต่างโปรแกรม Shutdown ตรงนี้เราสามารถสั่งชัตดาวน์, รีสตาร์ท หรือเลือก Hibernate ตัวระบบ Windows ได้ทันทีด้วยการกดปุ่ม Start แทนการกระทำผ่านปุ่ม Start Menu ของตัว Windows 10 ได้ด้วย

ทั้งนี้สิ่งที่เราต้องทำเพิ่มเติมก็คือ การกดปุ่ม Show IP ซึ่งเราต้องนำเอาหมายเลข IP Adress บนคอมพิวเตอร์ที่เราได้ติดตั้งโปรแกรม Shutdown Start Remote ใช้งานอยู่ภายในบ้าน (Private IP Address) เอาไปใส่ในแอพบนโทรศัพท์มือถือของเราด้วย หรือจะกระทำด้วยการสแกนรหัส QR Code จากแอพเลยก็ได้ แต่ถ้าหากต้องการสั่งรีโมทคอมพิวเตอร์จากโทรศัพท์มือถือนอกบ้าน เราจำเป็นต้องใช้ Public IP Address แทน แต่ต้องทำการฟอร์เวิร์ดพอร์ตเพิ่มเติมด้วย (ในส่วนของ Public IP Address และการฟอร์เวิร์ดพอร์ต) เราจะขอเอาไว้พูดถึงในโอกาสต่อไปครับ

เมื่อติดตั้งโปรแกรม Shutdown Start Remote บนคอมพิวเตอร์ของเราเสร็จแล้ว ส่วนต่อมา ก็คือ การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Shutdown Start Remote จาก Google Play Store มาติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือระบบ Android ที่เราใช้งาน

เมื่อเปิดแอพเข้ามาก็จะเจอกับหน้าจอต้อนรับ

ในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น Shutdown Start Remote ครั้งแรก ผู้ใช้งานสามารถกดหัวข้อ Refresh หรือกดปุ่ม Scan เพื่อทำการค้นหาคอมพิวเตอร์ในระบบเน็ตเวิร์คได้

แต่เท่าที่ผมลอง ตัวแอพจะไม่สามารถทำการค้นหาอุปกรณ์ได้เจอ

ก็ต้องมาทำการเพิ่มหมายเลขไอพีแอดเดรสด้วยตนเอง ด้วยการคลิกหัวข้อ Insert

แล้วใส่หมายเลขไอพีแอดเดรสที่เราได้จากการติดตั้งโปรแกรม Shutdown Start Remote บนคอมพิวเตอร์ของเรา

เมื่อใส่หมายเลขไอพีแอดเดรสที่ได้จากคอมพิวเตอร์ของเรา ตัวแอพก็จะแสดงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราขึ้นมา

ตรงนี้เราก็สามารถกำหนดระยะเวลาได้ทันทีเลยว่าจะให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเราทำการ ชัตดาวน์, รีสตาร์ท, หรือ Hibernate ได้เมื่อไร

ทั้งนี้ในส่วนของเมนูแอพกับอีกส่วนที่น่าสนใจก็คือ หัวข้อ Start Computer ก็จะเป็นการสั่งให้แอพพลิเคชั่นเริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย

แต่การที่เราจะสั่งให้แอพพลิเคชั่น Shutdown Start Remote ทำการเปิดคอมพิวเตอร์ได้นั้น คอมพิวเตอร์ของเราโดยเฉพาะไบออสที่ควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดและการ์ดเน็ตเวิร์ค (หรือการ์ดแลน) เอาไว้ จะต้องมีฟีเจอร์ Wan on Lan และ Magic Packet ด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถสั่งเปิดคอมพิวเตอร์ในระบบเน็ตเวิร์คหรือจากเครือข่ายระยะไกลได้นะครับ

Note. เพิ่มเติม 19/1/2020

จากวิธีการในบทความที่กล่าวไปแล้วนั้น เราจำเป็นต้องเปิดไฟล์ Shutdown Timer ขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่ระบบปฏิบัติการ Windows 10 เริ่มการทำงานใหม่ วันนี้ผมก็เลยจะมาเพิ่มเติมในส่วนของการทำงานซอฟต์แวร์ตัวดังกล่าวเริ่มการทำงานทันทีเมื่อเปิดเครื่องกันครับ

โดยกดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเปิดหน้าต่าง Run แล้วพิมพ์คำสั่ง Shell:Startup

แล้วทำการก็อบปี้ไฟล์ Shutdown Timer ที่ดาวน์โหลดมา เอามาไว้ในโฟลเดอร์ Startup พร้อมกับคลิกขวาเลือก Properties

ที่หน้าต่าง Properties ให้คลิกปุ่ม Change -> เลือกโปรแกรมที่ต้องการให้เปิดไฟล์นี้ แล้วกด Apply -> OK

หลังจากนี้เมื่อมีการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง โปรแกรม Software Timer ก็จะเริ่มการทำงานพร้อมระบบปฏิบัติการทุกครั้ง และโปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อกับแอพบนมือถือให้สามารถสั่ง Shutdown, Restart และ Hibernate ได้ทุกครั้งแล้วครับ



บทความก่อนหน้านี้วิธีบังคับให้ Windows Defender สแกนไฟล์ Zip, RAR & Cab
บทความถัดไปวิธีตั้งค่าลบไฟล์ในโฟลเดอร์ Downloads อัตโนมัติกับ Windows 10
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่