SONY VAIO Duo 11 Ultrabook + Tablet

0
4080

AIDA64 CPUID

SONY VAIO DUO 11

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

SONY VAIO DUO 11

TechPowerUp GPU-Z

SONY VAIO DUO 11
SONY VAIO DUO 11

Super PI

SONY VAIO DUO 11

ในส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของเครื่องก็จะเป็น SSD ที่เป็นรุ่น ADATA XM14 กับขนาดความจุ 128GB ซึ่ง SSD ที่มีมาให้นี้ จะถูกฝังอยู่ภายในเครื่องเลยนะครับ เราจะไม่สามารถแกะดูหรือเปลี่ยนอัพเกรดสำหรับอนาคตได้

SONY VAIO DUO 11

สำหรับการอ่าน-เขียนข้อมูลกับผลทดสอบด้วย HD Tune ที่ได้ก็ถือว่าทำได้รวดเร็วดีทีเดียวครับ

HD Tune – Benchmark

SONY VAIO DUO 11

HD Tune – Random Access

SONY VAIO DUO 11

CINEBENCH R10

SONY VAIO DUO 11

CINEBENCH R11.5

SONY VAIO DUO 11

3DMark06

SONY VAIO DUO 11

PCMark05

SONY VAIO DUO 11

Wireless Test

เรามาทำการตรวจสอบการรับสัญญาณไวเลสกับชิพ Intel Centrino Advanced-N6235 ที่อยู่ภายในกันบ้างครับ ซึ่งตัวรับสัญญาณที่มีมาให้ในเครื่องจะรองรับคลื่นความถี่ได้ทั้งย่าน 2.4GHz และย่าน 5GHz โดยมีตัวส่งสัญญาณเป็น Wireless Router ของยี่ห้อหนึ่งที่ปล่อยสัญญาณอยู่ใกล้ๆระยะประมาณ 2 เมตรและส่งได้ทั้ง 2 คลื่น โดยใช้ SSID เป็นชื่อ VarietyPC 5G (ย่าน 5GHz) และ VPC-AP (ย่าน 2.4GHz) ส่วนชื่อ VarietyPC จะส่งมาจากอุปกรณ์ Ubiquity จะใช้ในย่าน 2.4GHz และอยู่ห่างจากตัวรับก็คือ VAIO Duo 11 ห่างกัน 2 ชั้นครึ่งของตัวอาคาร นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นคลื่นที่ลอยอยู่บริเวณใกล้เคียงและไกลกันออกไปครับ ก็สามารถทำการตรวจจับสัญญาณไวเลสโดยเฉพาะย่าน 5GHz ได้ค่อนข้างนิ่งดีทีเดียว

ตั้งแต่อยู่แถวนี้มาใช้โทรศัพท์สแกนหาคลื่นสัญญาณ ยังไม่เคยเห็นคลื่นเยอะขนาดนี้มาก่อน แต่ก็คงจะเป็นที่ตัวรับของโทรศัพท์มีกำลังส่งกลับไปหา Access Point ที่ต่ำก็เป็นได้ครับ

Time Graph

SONY VAIO Duo 11

2.4GHz Channels

SONY VAIO Duo 11

5GHz Channels

SONY VAIO Duo 11

BatteryMon กับระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่ก็ใช้เวลาการชาร์จเริ่มจาก 6% จนเต็ม 100% รวมทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 24 นาทีครับ

SONY VAIO DUO 11

Conclusion

SONY VAIO DUO 11

ในส่วนของการทำงานโดยรวมของ SONY VAIO Duo 11 Ultrabook ก็ถือว่าทำได้ค่อนข้างรวดเร็วครับ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมซอฟต์แวร์ต่างๆบนหน้าจอ ซึ่งทั้งหมดเราสามารถสลับสับเปลี่ยนจากการใช้ Trackpad ที่ทำหน้าที่แทนเคอร์เซอร์เม้าส์ไปเป็นการกดจิ้มบนหน้าจอได้เลย ก็ทำให้เกิดการคล่องตัวต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากหากท่านใดใช้แท็บเล็ตอยู่เป็นประจำละก็จะสัมผัสถึงการใช้งานที่ ลงตัวและรวดเร็วขึ้นจริงๆครับ

จุดเด่น

– ในการใช้งาน เราสามารถเลือกการใช้งานได้ว่าต้องการใช้งานในแบบแท็บเล็ตหรืออัลตร้าบุค ซึ่งถ้าหากต้องการใช้งานในแบบแท็บเล็ต ก็สามารถใช้นิ้วหรือใช้ปากกา Digitizer Stylus ผ่านจอทัชสกรีนได้เลย

– หูฟังที่มีมาให้ เสียงที่ได้ก็ค่อนข้างนุ่มนวล ก็ช่วยเพิ่มอรรถรสในด้านเอนเตอร์เทนเม้นต์ได้ดีทีเดียว

– ในการใช้งานกับบางสถานที่ ถ้าจำเป็นต้องใช้ทางด้านการพิมพ์ข้อความให้ได้รวดเร็ว ก็สามารถปรับการใช้ให้เป็นอัลตร้าบุคได้ และยังสลับใช้ทัชสกรีนได้อีกด้วย

– สามารถเปิดเครื่องให้พร้อมใช้งานได้ทันที เท่าที่ลองจับเวลา ก็ใช้เวลาสั้นเพียง 3-4 วินาทีเท่านั้น

– มีกล้องดิจิตอลเว็บแคมมาให้ใช้งานทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จำนวน 2 ตัว สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ

– การใช้งานอย่างต่อเนื่อง เท่าที่สังเกตอย่างเช่น ขณะทดสอบด้วยซอฟท์แวร์เบิร์นต่างๆก็พบว่า อุณหภูมิความร้อนแค่อุ่นๆนิดหน่อย ซึ่งถ้าเทียบกับการใช้งานแบบทั่วไป ในเรื่องความร้อนก็ไม่ต้องกังวลเลยครับ (แต่ขณะที่ผมทำการทดสอบอุณหภูมิห้องประมาณ 25-26 องศา)

จุดด้อย

– ตัวเครื่องจะมีแรมมาให้ตายตัวที่ 4GB จะไม่สามารถเพิ่มให้สูงกว่านี้ได้

– ในอนาคตถ้าหากต้องการเปลี่ยน SSD ให้มีความจุเยอะขึ้น จะไม่สามารถทำได้

– หากต้องใช้งานในแบบอัลตร้าบุค จะปรับหน้าจอได้แค่มุมเดียวก็คือ 45 องศาเท่านั้น

– ตัวเครื่องมีน้ำหนักเยอะที่ 1.3 กิโลกรัม หากต้องการใช้งานระหว่างเดินทางในแบบถือให้เป็นแท็บเล็ตอาจจะไม่ค่อยสะดวกครับ

ขอขอบพระคุณ บริษัทโซนี่ไทย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ



คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่