เชื่อว่าคงมีหลายๆท่านที่เป็นแฟนคลับของโน้ตบุคหลากหลายยี่ห้อกันพอสมควร นะครับ และหนึ่งในแฟนคลับเหล่านั้นผมก็คิดว่าคงจะมีแฟนคลับจากเลอโนโวเข้ามาเยี่ยม ชมเว็บวาไรตี้พีซีแห่งนี้กันพอสมควรเช่นเดียวกัน และแล้ววันนี้ทางวาไรตี้พีซีก็ได้รับเกียรติจากบริษัทเลอโนโวประจำประเทศไทย ให้เข้าร่วมทำการรีวิวและทดสอบการทำงานของโน้ตบุคสองรุ่นด้วยกัน แต่ในวันนี้ทางเว็บวาไรตี้พีซีจะขอนำเสนอหนึ่งรุ่นก่อนครับกับโน้ตบุคในซีรี่ย์ IdeaPad ในรุ่น Lenovo IdeaPad Z470 โดยเฉพาะโน้ตบุคที่ทางเราจะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นโน้ตบุคที่เหมาะสำหรับตลาด คอนซูเมอร์เป็นอย่างมาก และรวมถึงท่านที่กำลังมองหาเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้างความบันเทิงภายใน บ้าน, การใช้งานบนออฟฟิศ หรือแม้แต่การนำไปใช้งานส่วนตัว แล้วหากต้องเดินทางไปยังที่ต่างๆต้องพกพาโน้ตบุคไปใช้ด้วยตลอดเวลา ยิ่งถ้าได้นำโน้ตบุคที่มีดีไซน์สวยหรูไปใช้ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความเพลิดเพลินกับการใช้งานมากขึ้นเป็นทวีคูณอีกด้วย และสำหรับสเปคเครื่องที่ทางเราจะทำการรีวิวพร้อมทั้งทดสอบก็จะมีรายละเอียด ดังนี้ครับ
Product Gallery
ถ้าหากมองดูผิวเผินจะพบว่าตัวโน้ตบุคในซีรี่ย์ IdeaPad รุ่น Z470 ตัวนี้จะเห็นว่ามีความโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่ค่อนข้างสวยงามสะดุดต่อสายตาผู้ พบเห็นเป็นอย่างมาก แม้แต่ผมที่ตลอดระยะเวลาการทดสอบยังหลงรักเลยครับ ยิ่งถ้าหากมองดูที่ประสิทธิภาพจากการทำงานก็ไม่ธรรมดาอีกด้วย ก็ขอตัดบทมาดูรายละเอียดแต่ละส่วนของโน้ตบุครุ่นนี้กันเลยดีกว่าครับ โดยเริ่มจาก
ด้านบน: เรามาดูที่ด้านบนของฝาพับกันก่อนครับ โดยทางเลอโนโวเขาจะเลือกใช้วัสดุแบบกลอสซี่เป็นสีน้ำเงินวาว และมีลวดลายเป็นปีรามิดเฉด แบบ 2 เลเยอร์ ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็ดูมีมิติสวยงามดีทีเดียว และด้วยโลโก้ของเลอโนโวที่อยู่มุมบนก็ตัดกับลวดลายบนฝาพับได้ดูโดดเด่นพอสมควรครับ
ด้านล่าง: ด้านล่างจะเน้นการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกผิวด้าน เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนจากการจับวางบนทุกสภาพผิวได้เป็นอย่างดี และมีช่องระบายความร้อนอยู่บริเวณอุปกรณ์ที่ส่งความร้อนหลักๆเช่น พัดลมระบายความร้อนซีพียูและชิพเซ็ต, ฮาร์ดดิสต์ และแรม เป็นต้น
ตัวเครื่องด้านหน้า: เริ่มจากซ้าย จะเป็นปุ่มเปิด/ปิดไว้สลับการทำงานของกราฟิคการ์ดแบบแยกกับออนบอร์ด, ตรงกลางจะเป็นไฟแสดงสถานะปุ่มล็อคทัชแพด (Fn + F6) ป้องกันการควบคุมเม้าส์, ไฟแสดงการทำงานการเปิด/ปิดสัญญาณไวเลส-บลูทูธ, แบตเตอรี่ และปรับแต่งการใช้พลังงาน และทางขวามือจะเป็นปุ่มเปิด/ปิดสัญญาณไวเลส/บลูทูธ ถัดไปก็จะเป็นช่องเสียบมัลติการ์ดรีดเดอร์แบบ 5 in 1 โดยสามารถเสียบได้ทั้ง SD Card, SD-HC, MMC, MS และ xD Card
ตัวเครื่องด้านหลัง: จะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อใดๆมาให้เลย ส่วนหนึ่งก็เพราะการออกแบบที่ต้องการเน้นให้จอแสดงผลสามารถปรับกางออกทำองศาได้เยอะๆด้วยครับ
ตัวเครื่องด้านขวา: นับจากซ้าย จะเป็นช่องล็อคเครื่อง, ช่องระบายอากาศหลัก, พอร์ตเชื่อมต่อเข้าจอมอนิเตอร์ VGA-Out (D-Sub), พอร์ต RJ-45 (พอร์ตแลนออนบอร์ต 10/100), พอร์ต HDMI, E-SATA II และพอร์ต USB 2.0 x 1 ช่อง
ตัวเครื่องด้านซ้าย: นับจากซ้าย จะเป็นช่องต่อออกหูฟัง, ลำโพง, ช่องต่อไมโครโฟนนอก, USB 2.0 x 2 ช่อง, DVD Writer และช่องเสียบอะแด็ปเตอร์ DC-IN
มุมซ้ายบนของตัวเครื่อง: จะแสดงตำแหน่งของลำโพงด้านซ้าย ขับเคลื่อนด้วยระบบ Dolby Advance Audio, ปุ่มเปิดเครื่อง พร้อมแสดงการทำงานด้วยไฟ LED สีขาว และปุ่ม OneKey Recovery ไว้สำหรับทำการสำรอง, กู้คืน และสร้างแผ่น Recovery Disc ได้ด้วย รวมถึงไฟแสดงสถานะของปุ่ม NumLock และ HDD LED
มุมขวาบนของตัวเครื่อง: จะเป็นปุ่มเซ็นเซอร์แบบสัมผัส เอาไว้ควบคุม (นับจากด้านซ้ายของภาพ) การเปิด-ปิด (1), ลด (2), เพิ่ม (3) ความดังของเสียง, ปุ่ม OneKey Theatre (4) เป็นปุ่มที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของระบบภาพและเสียง โดยจะมีให้เลือกระหว่าง Normal, Movie, Intelligent และปุ่มสุดท้าย Thelmal Management (5) ไว้สำหรับควบคุมการระบายความร้อนและการหมุนของพัดลมระบายอากาศ ให้สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้ และลำโพงทางด้านขวา
ใกล้ๆกับบริเวณจุดพักมือทางด้านซ้าย จะเป็นช่องรับสัญญาณเสียงของไมโครโฟน สามารถรับสัญญาณเสียงขาเข้าได้คมชัดดีทีเดียว