4 วิธีบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10

0
16343
4 วิธีบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10
4 วิธีบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10
4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-01

สำหรับบทความ 4 วิธีการบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10

ก็จะแตกต่างไปจากการเรียกใช้งาน Safe Mode บน Windows 8 หรือ Windows 8.1 ถ้าสังเกตให้ดี วิธีการเดิมๆที่หลายๆท่านเคยเรียกใช้ เช่น ขณะระบบกำลังเริ่มกระบวนการบูตใหม่ ปกติเราต้องกดปุ่ม F8 หรือปุ่ม Shift + F8 ย้ำๆ วิธีการดังกล่าว จะใช้ไม่ได้บน Windows 10 อีกแล้ว ซึ่งคีย์ลัดสำหรับการเรียกใช้งานดังกล่าวจะถูกตัดออกไป ถ้าสังเกตดูให้ดี Windows 10 จะบูตเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วขึ้นกว่า Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้านั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Windows 10 จะไม่มี Safe Mode ให้เรียกใช้งาน เพียงแต่ทางไมโครซอฟต์ปรับเปลี่ยนการเข้าถึงฟีเจอร์ Safe Mode ใหม่ ด้วย 4 วิธีการที่ทางเว็บ VarietyPC.net สรุปมาให้ดังต่อไปนี้ครับ

Note. การเรียกใช้งาน Safe Mode ส่วนใหญ่ จะใช้สำหรับ เอาไว้เข้าไปแก้ไขปัญหาการเข้าสู่ระบบตามปกติไม่ได้ เช่น ไดร์เวอร์มีปัญหา, ต้องลบไดร์เวอร์เพื่อจะติดตั้งใหม่ แต่ไม่สามารถลบได้ หรือ ต้องการลบโปรแกรมที่มีปัญหา แต่จะลบบนระบบ Windows ไม่ได้ ต้องทำผ่าน Safe Mode เป็นต้น

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-02

วิธีที่ 1 เรียกใช้งาน Safe Mode จากการกดปุ่ม Shift + คลิก Restart ผ่านเมนูสตาร์ท (ภายใต้ปุ่ม Start -> Power)

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-03

หรือกดปุ่ม Shift + คลิก Restart ผ่านหน้าจอ Sign in ก็ได้ครับ

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-04

แล้วรอสักครู่

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-05

จะเข้าสู่หน้าจอ Choose an option -> เลือกหัวข้อ Troubleshoot

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-06

เลือก Advanced options

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-07

เลือก Startup Settings

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-08

คลิก Restart

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-09

สำหรับหน้าจอ Press a number to choose from the options below: ให้เลือกการใช้งานด้วยการกดปุ่มตัวเลข Num Pad ระหว่างข้อ 4 ถึงข้อ 6 หรือจะกดปุ่ม F4 ถึง F6 ก็ได้

สำหรับความหมายของ Safe Mode แต่ละข้อ ก็มีดังนี้

+ Enable Safe Mode เป็นการบูตเข้าสู่ระบบด้วยไฟล์และไดร์เวอร์ของอุปกรณ์พื้นฐานเท่าที่วินโดวส์จำเป็นต้องเรียกใช้งานขึ้นมาเท่านั้น แต่ถ้าหากยังไม่สามารถบูตเข้าสู่ Safe Mode ได้ แสดงว่าวินโดวส์มีไฟล์เสียหายมาก จำเป็นต้องลงวินโดวส์ทับลงไปใหม่หรือลงวินโดวส์ใหม่ครับ

+ Enable Safe Mode with Networking เป็นการบูตเข้าสู่ระบบเหมือนกับ Safe Mode แบบปกติ แต่จะโหลดไดร์เวอร์ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์คอย่างเช่น การ์ดแลนขึ้นมาด้วย เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้งานเน็ตเวิร์คได้

+ Enable Safe Mode with Command Prompt เป็นการบูตเข้าสู่ระบบเหมือนกับ Safe Mode แบบปกติ แต่จะมีรูปแบบหน้าตาแบบ Command Prompt หรือ Text Mode คือ เป็นหน้าจอดำๆจะมีก็แต่ตัวหนังสือ โดยจะแสดงเป็นบรรทัดแบบ MS-Dos โดยผู้ใช้งานมีความจำเป็นตต้องรู้จักกับคำสั่ง Dos ด้วย

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-10

วิธีที่ 2 การเปิดใช้งาน Safe Mode ผ่านหน้าต่าง System Configuration

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-11

โดยคลิกปุ่ม Start แล้วพิมพ์คำสั่ง msconfig เพื่อเปิดหน้าต่าง System Configuration (หรือจะกดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเรียกใช้งานหน้าต่าง Run ก็ได้)

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-12

เมื่อหน้าต่าง System Configuration ถูกเปิดขึ้นมา ให้คลิกแท็บ Boot สังเกตที่หัวข้อ Boot options แล้วติ๊กถูกหน้าหัวข้อ Safe boot พร้อมกับเลือก Minimal แล้วคลิก Apply -> OK

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-13

คลิก Restart เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่องใหม่

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-14

วิธีที่ 3 เรียกใช้งาน Safe Mode ผ่าน Windows 10 Recovery ที่ทำด้วยแฟลชไดรฟ์

ซึ่งทางเว็บไซต์ได้ทำการอัพเดตวิธีการทำ Windows 10 Recovery กับ USB Drive ไว้ในบทความก่อนหน้านี้ กรณีนี้จะเหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆที่ไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอ Sign in หรือหน้าจอเดสก์ทอปตามปกติได้ (หรือถึงกับเข้าขั้นอาการหนักแล้วนั่นเอง)

โดยเลือก Keyboard Layout ให้ตรงกับคีย์บอร์ดที่เราใช้อยู่ (ส่วนใหญ่จะเป็น US)

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-15

แล้วเลือก Troubleshoot

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-16

เลือก Advanced options

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-17

เลือก Command Prompt เพราะวิธีการนี้ เราต้องเปิดการทำงาน Safe Mode ผ่านหน้าจอ Command Prompt

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-18

ด้วยการพิมพ์คำสั่ง bcdedit /set {default} bootmenupolicy legacy แล้วกด Enter

ถ้าหากใช้งานเสร็จแล้ว เราก็ปิดการใช้งาน Safe Mode กลับให้เหมือนเดิม เพื่อให้ระบบทำการบูตได้เร็วเหมือนเดิมนั่นเอง

โดยใช้คำสั่ง bcdedit /set {default} bootmenupolicy standard แล้วกด Enter (หรือจะเรียกใช้คำสั่งนี้ผ่านหน้าต่าง Command Prompt บนระบบ Windows 10 แบบปกติก็ได้ แต่ต้องเปิดด้วยสิทธิ์ Administrator ด้วยนะครับ)

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-19

เมื่อพิมพ์คำสั่งดังกล่าวเสร็จแล้ว ก็ทำการปิดหน้าต่าง Command Prompt แล้วคลิก Continue

4-way-boot-safe-mode-on-windows-10-20

เมื่อระบบทำการบูตใหม่ ก็ให้ทำการกดปุ่ม F8 หรือ Shift + F8 ย้ำๆ ก็จะพบเจอกับหน้าจอ Advanced Boot Options ให้เลือกใช้งาน

วิธีที่ 4 จะเป็นการจับเอาฟีเจอร์ Safe Mode มาไว้ที่ Context Menu หรือเมนูคลิกขวา

เรามาเพิ่ม Safe Mode ไว้ที่เมนูคลิกขวาให้เรียกใช้ได้ง่ายๆกันดีกว่า

ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเปิดใช้งาน Safe Mode บน Windows 10 ไว้ถ้าหากเจอวิธีการใดๆเพิ่ม ผมจะนำมาอัพเดตลงในบทความให้อีกครับ



คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่