2 วิธีง่ายๆกับการแฮกพาสเวิร์ดล็อกอิน Windows 10

0
8316
2 วิธีง่ายๆกับการแฮกพาสเวิร์ดล็อกอิน Windows 10
2 วิธีง่ายๆกับการแฮกพาสเวิร์ดล็อกอิน Windows 10

สำหรับบทความ 2 วิธีง่ายๆกับการแฮกพาสเวิร์ดล็อกอิน Windows 10

ที่ว่านี่ จะใช้กับกรณีที่จำรหัสเก่าไม่ได้ แต่จะเป็นการกำหนดรหัสผ่านใหม่ เพื่อให้เข้าใช้งานระบบ Windows 10 ได้ตามปกติ ก็ยังจำเป็นต้องมีแผ่น DVD ติดตั้ง Windows 10 หรือต้องมีแฟลชไดรฟ์ที่เป็นตัวติดตั้ง Windows 10 ก็ได้ เพราะต้องเรียก Command Prompt ขึ้นมาช่วยงาน วิธีการแฮกพาสเวิร์ด Windows 10 ดังต่อไปนี้ เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่ชอบลืมรหัสผ่าน/พาสเวิร์ดสำหรับล็อกอินเข้าใช้งานระบบเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากการใช้ซอฟต์แวร์อย่าง Active Password Changer ที่มีใน Hiren’s Boot CD มาช่วยนั่นเองครับ.

Note. วิธีการแฮกรหัสผ่านดังต่อไปนี้ ควรนำไปใช้ในการลืมรหัสผ่านเท่านั้น อย่าเอาไปแอบแฮกเครื่องชาวบ้านเขานะครับ

2 วิธีง่ายๆกับการแฮกพาสเวิร์ด Windows 10 จะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกัน

วิธีที่ 1 แฮก Windows 10 ด้วย On Screen Keyboard

เริ่มแรกก็ใส่แผ่น CD/DVD หรือแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows แล้วเลือกบูตด้วยอุปกรณ์เหล่านี้จากหน้าไบออสหรือเลือกบูตเมนูก็ได้

พอถึงหน้า Windows Setup ที่หัวข้อเมนูดร็อปดาวน์ไม่ต้องกำหนดค่าใดๆ ทำแค่เพียงคลิก Next

แล้วคลิกหัวข้อ Repair your computer

ที่หน้าจอ Choose an option เลือกหัวข้อ Troubleshoot

ที่หัวข้อ Advanced options เลือกหัวข้อ Command Prompt

เมื่อหน้าต่าง Command Prompt ถูกเปิดขึ้นมา ก็ลองตรวจสอบดูว่าระบบไฟล์ Windows 10 ได้ติดตั้งเอาไว้ที่ไดรฟ์ C หรือไม่ โดยพิมพ์คำสั่ง dir c: เพราะระบบ Windows 10 ของบางท่านอาจจะติดตั้งไว้หลายระบบปฏิบัติการ หรือฮาร์ดดิสก์หลายลูก เป็นต้น

พอตรวจสอบได้แน่ใจแล้วว่าอยู่ที่ไดรฟ์ C ก็พิมพ์คำสั่งทับไฟล์

copy c:\windows\system32\cmd.exe c:\windows\system32\osk.exe

ระบบจะถามว่าต้องการเขียนไฟล์ทับหรือไม่ ก็ให้กด Y (หรือ Yes)

แล้วพิมพ์คำสั่ง exit เพื่อปิดหน้าต่างนี้

กลับมาที่หน้า Choose an option ก็ให้คลิกปุ่ม Turn off your PC จะเป็นการปิดเครื่อง แล้วกดปุ่ม Power เพื่อเปิดเครื่องใหม่

ระบบจะพามาที่หน้าจอ Windows 10 Login screen ก็คลิกหัวข้อ On-Screen Keyboard

หน้าต่าง command prompt จะถูกเปิดขึ้นมา แล้วใช้คำสั่ง net user เพื่อตรวจสอบดูว่ามีชื่อบัญชีอะไรในเครื่องนี้บ้าง โดยชื่อบัญชีที่เราจะกำหนดรหัสผ่านใหม่ในที่นี้คือ VMWare

แล้วพิมพ์คำสั่ง net user ชื่อบัญชีผู้ใช้ * เช่น net user VMWare *

ที่บรรทัด Type a password for the user: จะเป็นการกำหนดรหัสผ่านใหม่โดยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่อาจจะนั่งอยู่ข้างๆเรารู้ว่าเรากำหนดรหัสผ่านใหม่เป็นรหัสอะไร

ที่บรรทัด Retype the password to confirm: เป็นการพิมพ์ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

เมื่อกำหนดรหัสผ่านเสร็จแล้วให้ปิดหน้าต่างนี้ แล้วลองพิมพ์รหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบตามปกติ

ทั้งนี้ถ้าเราอยู่คนเดียว เราจะใช้คำสั่ง net user ชื่อบัญชีผู้ใช้ รหัสผ่าน ก็ได้ เช่น ตัวอย่างจะเป็น net user VMWare T0891750136

แล้วลองล็อกอินเข้าสู่ระบบตามปกติ

วิธีที่ 2 แฮก Windows 10 ด้วย Utility Manager

ขั้นตอนเริ่มต้นก็จะเหมือนวิธีที่ 1 โดยเริ่มแรกก็ใส่แผ่น CD/DVD หรือแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows แล้วเลือกบูตด้วยอุปกรณ์เหล่านี้จากหน้าไบออสหรือเลือกบูตเมนูก็ได้

พอถึงหน้า Windows Setup ที่หัวข้อเมนูดร็อปดาวน์ไม่ต้องกำหนดค่าใดๆ ทำแค่เพียงกดปุ่ม Shift + F10 เพื่อเปิดหน้าต่าง Command Prompt ขึ้นมา

เมื่อหน้าต่าง Command Prompt ถูกเปิดขึ้นมา ก็ลองตรวจสอบดูว่าระบบไฟล์ Windows 10 ได้ติดตั้งเอาไว้ที่ไดรฟ์ C หรือไม่ โดยพิมพ์คำสั่ง dir c: เพราะระบบ Windows 10 ของบางท่านอาจจะติดตั้งไว้หลายระบบปฏิบัติการ หรือฮาร์ดดิสก์หลายลูก เป็นต้น

พอตรวจสอบได้แน่ใจแล้วว่าอยู่ที่ไดรฟ์ C ก็พิมพ์คำสั่งทับไฟล์

copy c:\windows\system32\cmd.exe c:\windows\system32\utilman.exe

ระบบจะถามว่าต้องการเขียนไฟล์ทับหรือไม่ ก็ให้กด Y (หรือ Yes)

แล้วพิมพ์คำสั่ง exit เพื่อปิดหน้าต่างนี้

แล้วกด x เพื่อปิดหน้าต่าง Windows Setup เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่องใหม่

หน้าต่าง command prompt จะถูกเปิดขึ้นมา แล้วใช้คำสั่ง net user เพื่อตรวจสอบดูว่ามีชื่อบัญชีอะไรในเครื่องนี้บ้าง โดยชื่อบัญชีที่เราจะกำหนดรหัสผ่านใหม่ในที่นี้คือ VMWare

แล้วพิมพ์คำสั่ง net user ชื่อบัญชีผู้ใช้ * เช่น net user VMWare *

ที่บรรทัด Type a password for the user: จะเป็นการกำหนดรหัสผ่านใหม่โดยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่อาจจะนั่งอยู่ข้างๆเรารู้ว่าเรากำหนดรหัสผ่านใหม่เป็นรหัสอะไร

ที่บรรทัด Retype the password to confirm: เป็นการพิมพ์ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

เมื่อกำหนดรหัสผ่านเสร็จแล้วให้ปิดหน้าต่างนี้ แล้วลองพิมพ์รหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบตามปกติ

ทั้งนี้ถ้าเราอยู่คนเดียว เราจะใช้คำสั่ง net user ชื่อบัญชีผู้ใช้ รหัสผ่าน ก็ได้ เช่น ตัวอย่างจะเป็น net user VMWare pass0136

แล้วลองล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน Windows 10 กันได้ตามปกติแล้วครับผม ราตรีสวัสดิ์



บทความก่อนหน้านี้วิธีแก้ You need permission to perform this action บน Windows 10
บทความถัดไป4 วิธี แก้จอฟ้า UNMOUNTABLE_BOOT_VOLUME บน Windows 10
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่