สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

0
2034
สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555
สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

ปี 2555 เป็นปีที่น่าตื่นเต้นสำหรับเอเชียแปซิฟิก เพราะเป็นปีที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาเปิดประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้อย่างน่าตื่นเต้น อินเทลมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่ได้เข้ามาร่วมสรรค์ สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะวิสัยทัศน์ของอินเทลคือ การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

ในปีนี้ อินเทลได้ก้าวไปอีกขั้นกับการนำเสนอระบบประมวลผลยุคใหม่ ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ผ่านป้ายและรถยนต์อัจจริยะ ไปจนถึงสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อัลตร้าบุ๊ก? และเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ นอกจากนี้ อินเทลยังมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาภูมิภาคเอเชียให้เป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ผ่านการสนับสนุนด้านการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการต่างๆ ทั่วภูมิภาคอีกด้วย

สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

1. การนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่
ในปี 2555 อินเทลได้ผสานการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ซึ่งก่อให้เกิดประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาดขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยชิป อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 เป็นชิปรุ่นแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ 3 มิติ แบบTri-Gate ซึ่งใช้กระบวนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร มาใช้ ทำให้ทั้งอัลตร้าบุ๊กและพีซีมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น ถ่ายโอนข้อมูล ตอบสนองการใช้งานและเชื่อมต่อรวดเร็วขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

ปัจจุบัน มีอัลตร้าบุ๊กอีกกว่า 140 ดีไซน์ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา และอีกกว่า 70 รุ่นที่ใช้อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ซึ่งวางจำหน่ายแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้อินเทลยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอัลตร้าบุ๊กเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ ต้องการประสิทธิภาพและการตอบสนองที่รวดเร็ว พร้อมกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น ภายใต้รูปลักษณ์ที่เบาและบาง ภายในสิ้นปีนี้ จะมีอัลตร้าบุ๊กอีกกว่า 40 ดีไซน์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีระบบสัมผัสและรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์* 8 โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นจะมีรุ่นที่เป็นคอนเวอร์ทิเบิลดีไซน์ ซึ่งเป็นการผนวกรวมของแท็บเล็ตและอัลตร้าบุ๊กถึง 10 รุ่นด้วยกัน โดยแบรนด์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอย่าง เอเซอร์* เอซุส* เลอโนโว* และโตชิบา*จะยังคงเป็นเข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มแรกที่เปิดตัวอัลตร้าบุ๊ก และแท็บเล็ตซึ่งรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์* 8 อีกด้วย

จากผลการสำรวจของอินเทลพบว่าความสามารถในการดูคอนเท้นท์ผ่านระบบสัมผัสจะ ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกมั่นใจและเกิดความคล่องตัวในการทำงานมายิ่งขึ้น โดยอินเทลมีทีมวิศวกรที่ทำงานทำงานร่วมกับแบรนด์ต่างเพื่อสร้างประสบการณ์ การในรูปแบบโมบายล์ที่ดีขึ้น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนำไปสู่การเปิดตัวแท็บเล็ต 20 ดีไซน์ใหม่ที่ใช้ด้วย อินเทล?อะตอม? Z2760 โปรเซสเซอร์ รวมถึงแท็บเล็ต และคอนเวอร์ทิเบิล ดีไซน์แบบระบบสัมผัส ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษในการเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลา และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่นานตลอดทั้งวัน

นอกจากนี้ อินเทลยังเข้าตลาดสมาร์ทโฟน ด้วยการเปิดตัวโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปอินเทล ในตลาดที่มีการเติบโตสูง เช่น อินเดีย จีน ยุโรป และละตินอเมริกา โดยอินเทล อินเดียได้เปิดตัว Lava* XOLO X900 ซึ่งใช้ชิปอินเทล?อะตอม? Z2460 โปรเซสเซอร์ เมื่อเดือนเมษายน 2555 เป็นที่แรก ส่วนลูกค้ารายอื่นๆ ที่มีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปอินเทล ในปี 2555 ประกอบด้วย Lenovo*, Orange*, Megafone*, Motorola*, และ ZTE*

อินเทลยังคงจะมุ่งมั่นพัฒนาต่อไปเพื่อนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และรวดเร็วขึ้น โดยมีแผนที่จะเปิดโปรเซสเซอร์ ตระกูล อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ในปี 2556

สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

2. ร่วมสนับสนุนธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบันภาพรวมธุรกิจของภูมิภาคเอเชียทวีความแข็งแกร่งและมีบทบาทมากยิ่ง ขึ้น โดยอินเทลยังคงร่วมผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้มีความเข็งแกร่งต่อไป

ปี 2555 เป็นปีแห่งการเติบโตของ “ข้อมูลขนาดใหญ่” ที่องค์กรทั้งหลายให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยในเดือนมีนาคม 2555 อินเทลได้เปิดตัว อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ตระกูล E5 ที่สามารถรองรับได้ 8 คอร์เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล โดยโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้นถึงร้อยละ 67 และยังมี Integrated I/O แพลตฟอร์มซึ่งช่วยผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการใหม่ที่รองรับการส่งผ่าน ข้อมูลจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับบริษัทที่ให้บริการการจัดเก็บและรักษาข้อมูลที่สำคัญของ ลูกค้าอย่างยิ่ง นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กร อินเทลยังได้เปิดตัว อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ตระกูล E7 สำหรับการใช้งานระบบประมวลผลของแอพลิเคชั่นที่สำคัญในระดับ mission critical ที่มีความโดดเด่นทางด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยในการจัดการข้อมูลลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ได้ถูกนำไปผนวกอยู่ในชิปซิลิกอน และระบบเพื่อปกป้องข้อมูล และสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ระบบเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมในระดับ Mission Critical

อินเทลมีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตจำนวนมากถึง 1.5 หมื่นล้านชิ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายตัวของปริมาณข้อมูลอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดความท้าทายด้านไอที โดยอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ จะสามารถนำเสนอระบบประมวลที่มีประสิทธิภาพ ให้แก่องค์กรและคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ในงานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม ที่ผ่านมา อินเทลยังได้ประกาศความร่วมมือกับ Amazon Web Services ในการพัฒนา อินเทลTM ซีออนTM E5 ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบคลาวด์อีกด้วย

นอกจากนี้ อินเทลยังได้ร่วมมือกับแม็คอาฟี (McAfee) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยของการปฏิบัติงานผ่านระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยเน้นการผนวกรวมความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน การร่วมมือในครั้งนี้จึงนำมาซึ่งมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยซึ่งเหมาะ สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ

สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

3. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคต
ในงานประชุม เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ อินเทลได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานดังกล่าว พร้อมได้กล่าวเสนอแนะให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศอาเซียนตลอดระยะเวลาที่ผ่าน มา อินเทลได้พยายามทำงานเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีของพื้นที่ในเขต ชนบทต่างๆ โดยอินเทลได้มุ่งพัฒนาบุคคลากรที่มีความสามารถ ลงทุนในความคิดสร้างสรรค์ และร่วมมือกับหน่วยภาครัฐและเอกชน ช่วยสร้างงาน ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และปฏิรูปการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

การสร้างอนาคตให้แก่เยาวชนในภูมิภาคเอเชีย
อินเทลได้จัดงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ หรือ อินเทล ไอเซฟ (Intel International Science and Engineering Fair, Intel ISEF) มีนักเรียนจากทั่วโลกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มากถึง 1,500 คน โดยมีทีมผู้เข้าแข่งขันจากภูมิภาคเอเชียทั้งสิ้น 36 ทีม เพื่อร่วมชิงรางวัลและทุนการศึกษามูลค่ากว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในปีนี้นักเรียนตัวแทนจากประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ณัฐพงศ์ ชิณรา, จตุพร ฉวีภักดิ์, นันทกานต์ ล่องโลด จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชนะอันดับสองจากรางวัล แกรนด์ อวอร์ด โดยได้รับทุนการศึกษาจำนวน 1,500 เหรียญสหรัฐฯ จากสาขาสัตววิทยา ในผลงานหัวข้อ “การศึกษาบทบาทของ “หอยทากในสวนยางพารา” และ กิตติธเนศน์ ธนรุ่งโรจน์ทวี จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชนะอันดับสองจากรางวัล แกรนด์ อวอร์ด ได้รับทุนการศึกษาจำนวน 1,500 เหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน จากผลงานเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยสลายอาหารของมดแดงกับคุณค่าทางโภชนาการ ในไข่มดแดง”

การสนับสนุนภาครัฐ
อินเทลเชื่อมั่นว่าความรู้คือจะช่วยพัฒนาชุมชนให้มีความแข็งแกร่ง ดังนั้นอินเทลจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทั่วภูมิภาคเพื่อพัฒนาโครง สร้างพื้นฐาน และการศึกษา โดยสนับสนุนด้านนโยบายการปรับโครงสร้างหลักสูตร และการลงทุน ในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ระยะยาวต่อไปในอนาคต

อินเทล ประเทศไทย ยังได้จัดโครงการ “”อะเมซิ่ง พีซี” ในปีนี้ เพื่อนำโปรแกรม “อินเทลTM อีซี่ สเต็ปส์” (Intel? Easy Steps) ไปสอนทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่ชุมชนในต่างจังหวัดอีกด้วย โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งช่วยต่อยอดให้อินเทลได้ทำการสำรวจและสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ยังไม่เคย ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ

สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทลปี 2555

อินเทล ประเทศไทยยังส่งเสริมภาครัฐในการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการเรียนการสอน โดยนำดีไซน์ต้นแบบของ Intel? Learning Series Tablet มาใช้ในโครงการนำร่องที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนฤทธิยวรรณาลัย และโรงเรียนประชานิเวศน์ เพื่อแสดงให้เห็นภาพความเป็นจริงสำหรับการทำโครงการดังกล่าวให้ประสบความ สำเร็จ นอกจากนี้ อินเทลยังมีกรณีศึกษาที่อินเทลได้ริเริ่มในประเทศทั่วโลกมานำเสนอ เพื่อให้ความรู้และเป็นโมเดลตัวอย่างในการปรับให้เข้ากับการศึกษาของประเทศ ไทย ทั้งนี้ โครงการนำร่องดังกล่าวยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้นใน ขั้นตอนการเรียนรู้ ผ่านการโต้ตอบและปฏิสัมพันธ์กันทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กับครูผู้สอน และกับเพื่อนนักเรียนร่วมห้องด้วยกันเองมากขึ้น

ลงทุนเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ
อินเทล แคปิตอล เริ่มเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยได้ลงทุนเม็ดเงินไปกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในด้าน โมบายล์ คอมพิวติ้ง อินเทอร์เน็ตสำหรับคอนซูเมอร์ คลาวด์ คอมพิวติ้ง อัลตร้าบุ๊ก ธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ และบริการ สมาร์ทโฟน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและดีไซน์อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ อินเทลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชน โดยอินเทลตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งในระยะยาวแบบต่อ เนื่อง โดยในประเทศไทย อินเทลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ องค์การ แพลน อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานประเทศไทย เพื่อนำโครงการ Intel? Easy Steps ซึ่งเป็นโครงการเพื่อการเผยแพร่ความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนหญิงในถิ่นธุรกันดาร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในชีวิต ประจำวันและในอาชีพของตนต่อไปได้ในอนาคตอย่างสัมฤทธิ์ผล

4. การตลาดที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของผู้บริโภค
ในปีนี้ อินเทล ประเทศไทย ได้นำการตลาดในรูปแบบใหม่มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของอินเทล โดยเป็นลักษณะการตลาดที่เน้นการเข้าถึงความรู้สึกของผู้บริโภค ผ่านกิจกรรมต่างๆ หลากหลายช่องทางเพื่อนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ อัลตร้าบุ๊ก ให้เข้าถึงชีวิตจริงของผู้คนมากยิ่งขึ้น เช่น ความร่วมมือกับสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ (CIDI) ในโครงการ “Fashion that Works” เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักศึกษา มาร่วมออกแบบคอลเล็คชั่นชุดพิเศษ โดยดึงจุดเด่นจากรูปลักษณ์ของความบางเบาและประสิทธิภาพของอัลตร้าบุ๊ก มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ ได้อย่างสวยงามและสร้างสรรค์ รวมถึงแคมเปญออนไลน์ Ultrabook? Persona ซึ่งเชิญชวนสามบุคคลที่มีความโดดเด่นในแวดวงอาชีพของตน ประกอบด้วย นักเดินทาง นักเล่าเรื่องผ่านศิลปะ และศิลปินนักร้อง มาร่วมสัมผัสความพิเศษของอัลตร้าบุ๊กพร้อมแบ่งปันประสบการณ์พิเศษผ่านช่อง ทางโซเชียลมีเดีย

กรุงเทพฯ 13 ธันวาคม 2555 – ในปี 2555 ทวีปเอเชียที่เดิมเคยถูกมองเป็นแค่เพียงศูนย์กลางการผลิต ปัจจุบันได้กลายเป็น ที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางด้านนวัตกรรมระดับโลกไปแล้ว นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากทวีปอื่นๆ ที่กำลังประสบกับมรสุมทางเศรษฐกิจ เนื่องด้วยปีนี้กำลังจะผ่านไป อินเทลและผู้บริหารได้แสดงความเห็นถึงสาระสำคัญสำหรับเอเชียในปีหน้า ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้

• เอเชียที่กำลังเริ่มเติบโต และผู้คนที่เชื่อมต่อถึงกัน
• นวัตกรรมของเอเชียสำหรับโลก
• อนาคตของระบบสัมผัสและอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่
• เป้าหมายของรัฐบาลสำหรับปี 2556 คือการศึกษาและระบบการเป็นผู้ประกอบการ
• การใช้เทคโนโลยีในองค์กรวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี)
• คลาวด์จะแพร่หลายในองค์กรวิสาหกิจในปี 2556

เอเชียที่กำลังเริ่มเติบโต และผู้คนที่เชื่อมต่อถึงกัน
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในโลกของเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดที่พัฒนาแล้วหลายแห่งสั่นคลอนเนื่องจาก ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่สามารถเติบโตได้ ซึ่งช่วยให้มาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น

“ในปี 2556 ผู้คนจะรู้จักกับโลกออนไลน์มากขึ้น โดยเราพบว่ามีคนจำนวน 300 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิกที่ยังไม่เคยรู้จักกับระบบดิจิตอลมาก่อน แต่ในปี 2556 ผู้คนเหล่านี้จะเริ่มหาทางเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์” – ฟิลิป โครนิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายกลุ่มองค์กรระดับภูมิภาค อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

ในขณะที่อัตราการเติบโตของตลาดเกิดใหม่เป็นไปอย่างช้าๆ มาตรฐานความเป็นอยู่จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เอเชียแปซิฟิกเป็นบ้านของเยาวชนจำนวนกว่าร้อยละ 45 ของเยาวชนในโลก คิดเป็นประชากรที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ประมาณ 700 ล้านคน ส่วนใหญ่เติบโตขึ้นในโลกที่มีการติดต่อสื่อสารอยู่ตลอดเวลา และขณะที่ชนชั้นกลางใน เอเชียเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง พวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยี และมีความคาดหวังที่สูงในด้านการ เชื่อมต่อสื่อสาร

นักสังเกตการณ์ด้านการตลาดเชื่อว่าเกือบครึ่งหนึ่งของการเติบโตของ GDP ทั่วโลกระหว่างปี 2553 ถึง 2568 จะเป็นผลมาจากตลาดเกิดใหม่ทั่วเอเชีย องค์กรวิสาหกิจจะกลับสู่สภาพที่ต้องการการเชื่อมต่อสื่อสาร ในขณะที่ พนักงานต่างมองหาและสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารใหม่ๆ ในการทำงานกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างมีประสิทธิผล รายงาน แมคคินซี่*ประเมินว่า ประมาณปี 2568 การบริโภคประจำปีในตลาดเกิดใหม่จะสูงถึง 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็น โอกาสการเติบโตที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม

“การผสมผสานกันระหว่างการใช้เทคโนโลยีในด้านส่วนตัวและเพื่อธุรกิจ (consumerization of IT) จะยังคงดำเนิน ต่อไป และไม่เป็นเพียงการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีของตัวเองไปใช้กับการทำงานเท่านั้น แต่พนักงานกำลังมองหาวิธี ใหม่ๆ เพื่อเชื่อมต่อและแชร์ข้อมูลกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ เนื่องจากมีแท็บเล็ตระดับผู้ประกอบการเป็นตัวขับดัน ส่วนความปลอดภัยของโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับผู้ประกอบการจะยังคงเป็นที่ต้อง การทั่วเอเชีย” – อูเดย์ มาร์ตี้ กรรมการผู้อำนวยการ อินเทล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นวัตกรรมของเอเชียสำหรับโลก
นิตยสาร The Economist* ระบุว่านานาชาติเริ่มยอมรับความคิดที่พัฒนาใน (และสำหรับ) โลกที่กำลังเติบโตใหม่ และได้นำเอาความคิดเหล่านั้นไปใช้ในประเทศตะวันตก

“ในปี 2556 เราคาดการณ์ว่าการใช้เทคโนโลยีในตลาดเกิดใหม่นั้นจะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรม” – ฟิลิป โครนิน ผู้อำนวยการองค์กรฝ่ายขายระดับภูมิภาค อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

องค์กรต่างๆ ได้จัดสรรงบประมาณขององค์กรจำนวนมากเพื่อนวัตกรรมทางด้านไอที ผลสำรวจของไอดีซี* เปิดเผยว่า การลงทุนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย คาดว่าจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 39.8 ของการใช้จ่าย งบประมาณองค์กรในปี 2556

“ในขณะที่อุปกรณ์เคลื่อนที่มีมากมายในตลาดเกิดใหม่ และแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นแพร่หลายออกไป เราคาดว่าจะเห็นนักคิดค้นรุ่นใหม่ๆ พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่สัมพันธ์กันกับนักคิดค้นคนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เพียง การปรับความคิดหรือข้อมูลระดับโลกให้เข้ากับท้องถิ่น แต่จะเป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อการใช้งานทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับโลก” – อูเดย์ มาร์ตี้ กรรมการผู้อำนวยการ อินเทล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

อนาคตของระบบสัมผัสและอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่
บางประเทศในเอเชียกำลังก้าวข้ามวิธีป้อนข้อมูลแบบดั้งเดิม คนรุ่นใหม่เริ่มมีประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นครั้งแรก โดยการใช้วิธีป้อนข้อมูลอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ระบบสัมผัส นักวิจารณ์เชื่อว่าอุปกรณ์การป้อนข้อมูล แบบดั้งเดิม เช่น แป้นคีย์บอร์ด และเม้าส์ จะถูกท้าทายโดยวิธีการป้อนข้อมูลแบบใหม่ๆ อาจเริ่มด้วยระบบสัมผัส แต่ในที่สุดจะกลายเป็นระบบการรับรู้การสั่งงานด้วยการเคลื่อนไหวท่าทาง

“ปี 2556 จะเป็นปีที่ผู้บริโภคจะคุ้นเคยกับประสบการณ์ระบบสัมผัสที่จะกลายเป็น คุณลักษณะหลักในโน้ตบุ๊กและ ออลอินวันพีซี เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียงและท่าทางจะเริ่มเป็นที่รู้จัก และจะกลายเป็นที่ต้องการในฐานะวิธีใหม่ๆ ที่จะปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมถึงพีซี” – อูเดย์ มาร์ตี้ กรรมการผู้อำนวยการ อินเทล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่และปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้จะเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของตลาด ทำให้เส้นแบ่ง ระหว่างพีซีและแท็บเล็ตเลือนไป ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ * ระบุว่าภายในปี 2558 ยอดการจำหน่ายแท็บเล็ตจะคิดเป็น ประมาณครึ่งหนึ่งของแล็ปท็อป

“ในขณะที่แท็บเล็ตกลายเป็นที่นิยมในที่ทำงาน ผู้คนจะต้องการขุมพลังที่ได้รับการปรับปรุง พวกเขาจะมองหาแท็บเล็ต เพื่อความสามารถในการทำงาน เปลี่ยนจากการใช้งานประเภทเดียวเป็นการทำงานได้หลายประเภทในเวลาเดียวกัน โดยที่ต้องการให้อุปกรณ์ของพวกเขามีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น” – ฟิลิป โครนิน ผู้อำนวยการองค์กรฝ่ายขายระดับภูมิภาค อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

“ในตอนนี้ บริษัทด้านเทคโนโลยีและผู้ผลิตหลายแห่งต้องการที่จะเข้าถึงจิตใจของผู้ บริโภคชาวเอเชียมากกว่าเมื่อก่อน และสนองตอบด้วยสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องและตรงกับความต้องการ ในปี 2556 ผู้บริโภคจะมีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนาดหน้าจอ ระบบขุมพลังการทำงาน และน้ำหนักที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตจะยึดเอาสิ่งที่ผู้บริโภค เลือกเป็นตัวบ่งชี้ว่าอุปกรณ์ประเภทใดเป็นที่นิยมที่สุดสำหรับการผลิตใน อนาคต” – เดวิด แมคโคลสกีย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และปฏิบัติการ อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

“คุณภาพของประสบการณ์ของผู้บริโภคจะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของ อุปกรณ์ ในปี 2556 เราจะเห็นว่าผู้ผลิต จำนวนมากขึ้นทำการตรวจสอบอุปกรณ์และให้ผู้ใช้ได้ทดสอบอุปกรณ์ก่อนที่การวาง จำหน่าย” – เดวิด แมคโคลสกีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และปฏิบัติการ อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

ในขณะที่อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่องทั่วทั้ง เอเชีย อินเทลเชื่อว่าสิ่งนี้ผลักดันให้ผู้คนได้ สร้างสรรค์ แชร์ และบริโภคข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา อินเทลได้ศึกษาถึงวิธีที่ผู้คนแชร์และบริโภคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ รวมถึงผลกระทบจากพฤติกรรมบางอย่างในแง่ของการแชร์ข้อมูลทางดิจิตอลที่มีต่อ วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ แนวคิดเกี่ยวกับการแชร์ทางดิจิตอลมากเกินไป หรือการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นส่วนตัวมากเกินไปทางออนไลน์ ที่กำลังกลายเป็นกระแสและแพร่ไปทั่วทั้งภูมิภาค

“ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่จำนวนมากเข้าร่วมสังคมออนไลน์ การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางดิจิตอลมากเกินไป จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนล้านๆ คนทั่วทั้งภูมิภาค ผลงานวิจัยล่าสุดของเรา เปิดเผยถึงความรู้สึกของผู้คน เกี่ยวกับการแชร์ข้อมูลที่มากเกินไป ประชาชนในออสเตรเลีย เป็นคนกลุ่มหนึ่งในหลายภูมิภาคที่กลัวการเปิดเผยข้อมูล ที่มากเกินไปและการทิ้งร่องรอยดิจิตอล ในขณะที่ประชาชนในประเทศจีนกลับไม่รู้สึกอึดอัดใจที่จะเป็นเหมือน “หนังสือ ที่เปิดอยู่” ทางออนไลน์ – เดวิด แมคโคลสกีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และปฏิบัติการ อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

เป้าหมายของรัฐบาลสำหรับปี 2556 คือการศึกษา และระบบการเป็นผู้ประกอบการ
ปี 2556 รัฐบาลในแต่ละประเทศจำเป็นต้องกำหนดนโยบาย ระบบ และการลงทุนที่ทันสมัยในประเทศเพื่อกระตุ้น และทำให้การพัฒนานั้นคงอยู่ แผนงานด้านบอร์ดแบนด์ระดับชาติกำลังมีดำเนินการอยู่ในสิงคโปร์ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงถึงกัน

“การส่งเสริมผู้ประกอบการและนวัตกรรมในประเทศจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคณะ รัฐบาลทั้งหลายทั่วทั้งภูมิภาค การ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมคู่ค้าที่เหมาะสมสามารถส่งเสริม เชื่อมโยง และสนับสนุนผู้ประกอบการได้ ในปี 2556 เศรษฐกิจที่มีผู้ประกอบที่มีพลังจากหลากหลายกลุ่มจะช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับโลกได้” – ฟิลิป โครนิน ผู้อำนวยการองค์กรฝ่ายขายระดับภูมิภาค อินเทล เอเชียแปซิฟิก กล่าว

ดัชนีนวัตกรรมระดับโลกปี 2555 (The Global Innovation Index) เป็นโอกาสที่ได้ย้ำเตือนรัฐบาลเกี่ยวกับความสำคัญ ของนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รายงานนี้ระบุความต้องการที่จะให้กลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ลงทุนในด้านความสามารถทางนวัตกรรมต่อไป เพื่อเติมเต็มศักยภาพที่สามารถ พัฒนาต่อไปได้ ในขณะเดียวกัน อินเทลเชื่อมั่นว่าเอเชียจะเป็นหนึ่งในหลายๆ ภูมิภาคทั่วโลกที่จะเติบโตอย่าง น่าตื่นเต้น

“ปี 2556 จะมีจุดที่น่าสนใจมากขึ้น การปฏิรูปทางการศึกษาจะสำคัญมากสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลและสถาบัน การศึกษาจะลงทุนในการพัฒนาโครงร่างการศึกษาที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างแรงงานที่ มี ทักษะความชำนาญสำหรับอนาคต” – อูเดย์ มาร์ตี้ กรรมการผู้อำนวยการ อินเทล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

การเริ่มใช้เทคโนโลยีในกลุ่มเอสเอ็มอี
“เอสเอ็มอีในเอเชียจะแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ในอีกสามปีข้างหน้า ไม่เพียงแค่จำนวนที่เพิ่มมากขึ้น แต่เอสเอ็มอีที่ดำเนินงานมาอยู่แล้วจะเริ่มนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ผลักดันเข้าสู่คลื่นลูกใหม่ที่เชื่อมโยงกันของธุรกิจ ผู้ประกอบการ และนายจ้าง” – อูเดย์ มาร์ตี้ กรรมการผู้อำนวยการ อินเทล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ผลงานศึกษาโดย Kauffman foundation* ที่สำรวจความคิดเห็นของหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้จำนวน 30,000 คน พบว่า พวกเขาต้องการประสบความสำเร็จในฐานะผู้ประกอบการอย่างมาก จำนวนของผู้ประกอบการที่จัดตั้งโดยคนเพียงคน เดียว (one-man creative enterprise) ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นสูงถึง 235,000 องค์กร ในขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใน ประเทศอินเดียเมื่อถูกถามว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงสร้างธุรกิจของตัวเอง พวกเขากล่าวว่าแรงจูงใจหลัก คือ “การได้ เป็นเจ้านายตัวเอง”

คลาวด์จะแพร่หลายสู่องค์กรขนาดใหญ่ในปี 2556
คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นหัวข้อในการสนทนามาเป็นระยะเวลาหลายปี และการใช้งานยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลกซึ่ง จะโตเป็นหกเท่าภายในปี 2559 การเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะใช้งานคลาวด์สูงถึง 1.5 zettabytes (ZB) ต่อปี เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าแก้วกาแฟขนาด 11ออนซ์ มีขนาดเท่ากับ 1 กิกะไบต์ ส่วนพื้นที่ขนาด 1 zettabytes จะมีขนาดเท่ากับกำแพงเมืองจีน

“ปี 2556 จะเป็นจังหวะเวลาสูงสุดของการใช้คลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบบต่างๆ และข้อมูลที่เคยถูกจำกัดด้วย วิธีแบบ ดั้งเดิมจะเริ่มทำงานอย่างคล่องตัว องค์กรต่างๆ และผู้จัดการฝ่ายไอทีจะตระหนักถึงความสำคัญของการ ใช้งานคลาวด์ มีการเปลี่ยนแปลงจากการเตรียมความพร้อมไปสู่การใช้งานคลาวด์คอม พิวติ้งที่สมบูรณ์แบบในอนาคต” – นิค นัฟเฟอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ศูนย์ข้อมูลและกลุ่มระบบเครือข่าย อินเทล เอเชียแปซิฟิก และจีน กล่าว

คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังเป็นกระแสในเอเชียแปซิฟิก จากผลสำรวจโดยไอดีจี* ร้อยละ 31 ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทาง ด้านไอทีในเอเชียวางแผนที่จะใช้งานคลาวด์ภายในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ร้อยละ 26 กำลังจะเริ่มโครงการนำร่องที่ใช้งาน คลาวด์ และร้อยละ 28 ได้ใช้งานคลาวด์แล้วในหนึ่งหรือหลายๆ โครงการ

ดัชนีคลาวด์ระดับโลก (Global Cloud Index ) ของซิสโก้ ซิสเต็มส์* ระบุว่าการใช้งานคลาวด์ในภูมิภาคนี้ (40.6 ล้านZB) จะคิดเป็นร้อยละ 36 ของการใช้งานคลาวด์ทั่วโลก ด้วยเหตุที่การใช้งานคาดว่าจะสูงขึ้น บริษัท ต่างๆ ที่ยังคงใช้ระบบ RISC* ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบดั้งเดิมจะต้องมองหาโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ในการรับมือกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น และแอพลิเคชั่นที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของบริษัท

“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานแบบ x86 และการลดการใช้งาน RISC* หรือ เมนเฟรม ส่วนในปี 2556 นั้น ขณะที่ผู้จัดการฝ่ายไอทีจำนวนมากขึ้นจะอัพเกรดระบบที่ใช้ต่อกันมา เราจะเห็น องค์กรหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้งานโครงสร้างพื้นฐานแบบ x86 ของอินเทลอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับระบบการทำงานที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษและการใช้งานระบบคลาวด์ ในปริมาณสูง” – นิค นัฟเฟอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ศูนย์ข้อมูลและกลุ่มระบบ เครือข่าย อินเทล เอเชียแปซิฟิกและจีน กล่าว

“ผู้ใช้งานคลาวด์จะเริ่มต้องการแพลตฟอร์มที่มีมาตรฐาน เปิดกว้าง และใช้งานได้จริงสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มจะใช้งานคลาวด์สำหรับการดำเนินงานทั่วไป ความต้องการสำหรับการใช้งานแบบไม่จำกัด ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากคลาวด์จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในปี 2556” – นิค นัฟเฟอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ศูนย์ข้อมูลและกลุ่มระบบเครือข่าย อินเทล เอเชียแปซิฟิกและจีน



คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่