Microsoft

4 วิธีบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10

สำหรับบทความ 4 วิธีการบูตเข้าใช้งาน Safe Mode บน Windows 10

ก็จะแตกต่างไปจากการเรียกใช้งาน Safe Mode บน Windows 8 หรือ Windows 8.1 ถ้าสังเกตให้ดี วิธีการเดิมๆที่หลายๆท่านเคยเรียกใช้ เช่น ขณะระบบกำลังเริ่มกระบวนการบูตใหม่ ปกติเราต้องกดปุ่ม F8 หรือปุ่ม Shift + F8 ย้ำๆ วิธีการดังกล่าว จะใช้ไม่ได้บน Windows 10 อีกแล้ว ซึ่งคีย์ลัดสำหรับการเรียกใช้งานดังกล่าวจะถูกตัดออกไป ถ้าสังเกตดูให้ดี Windows 10 จะบูตเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วขึ้นกว่า Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้านั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Windows 10 จะไม่มี Safe Mode ให้เรียกใช้งาน เพียงแต่ทางไมโครซอฟต์ปรับเปลี่ยนการเข้าถึงฟีเจอร์ Safe Mode ใหม่ ด้วย 4 วิธีการที่ทางเว็บ VarietyPC.net สรุปมาให้ดังต่อไปนี้ครับ

Note. การเรียกใช้งาน Safe Mode ส่วนใหญ่ จะใช้สำหรับ เอาไว้เข้าไปแก้ไขปัญหาการเข้าสู่ระบบตามปกติไม่ได้ เช่น ไดร์เวอร์มีปัญหา, ต้องลบไดร์เวอร์เพื่อจะติดตั้งใหม่ แต่ไม่สามารถลบได้ หรือ ต้องการลบโปรแกรมที่มีปัญหา แต่จะลบบนระบบ Windows ไม่ได้ ต้องทำผ่าน Safe Mode เป็นต้น

วิธีที่ 1 เรียกใช้งาน Safe Mode จากการกดปุ่ม Shift + คลิก Restart ผ่านเมนูสตาร์ท (ภายใต้ปุ่ม Start -> Power)

หรือกดปุ่ม Shift + คลิก Restart ผ่านหน้าจอ Sign in ก็ได้ครับ

แล้วรอสักครู่

จะเข้าสู่หน้าจอ Choose an option -> เลือกหัวข้อ Troubleshoot

เลือก Advanced options

เลือก Startup Settings

คลิก Restart

สำหรับหน้าจอ Press a number to choose from the options below: ให้เลือกการใช้งานด้วยการกดปุ่มตัวเลข Num Pad ระหว่างข้อ 4 ถึงข้อ 6 หรือจะกดปุ่ม F4 ถึง F6 ก็ได้

สำหรับความหมายของ Safe Mode แต่ละข้อ ก็มีดังนี้

+ Enable Safe Mode เป็นการบูตเข้าสู่ระบบด้วยไฟล์และไดร์เวอร์ของอุปกรณ์พื้นฐานเท่าที่วินโดวส์จำเป็นต้องเรียกใช้งานขึ้นมาเท่านั้น แต่ถ้าหากยังไม่สามารถบูตเข้าสู่ Safe Mode ได้ แสดงว่าวินโดวส์มีไฟล์เสียหายมาก จำเป็นต้องลงวินโดวส์ทับลงไปใหม่หรือลงวินโดวส์ใหม่ครับ

+ Enable Safe Mode with Networking เป็นการบูตเข้าสู่ระบบเหมือนกับ Safe Mode แบบปกติ แต่จะโหลดไดร์เวอร์ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์คอย่างเช่น การ์ดแลนขึ้นมาด้วย เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้งานเน็ตเวิร์คได้

+ Enable Safe Mode with Command Prompt เป็นการบูตเข้าสู่ระบบเหมือนกับ Safe Mode แบบปกติ แต่จะมีรูปแบบหน้าตาแบบ Command Prompt หรือ Text Mode คือ เป็นหน้าจอดำๆจะมีก็แต่ตัวหนังสือ โดยจะแสดงเป็นบรรทัดแบบ MS-Dos โดยผู้ใช้งานมีความจำเป็นตต้องรู้จักกับคำสั่ง Dos ด้วย

วิธีที่ 2 การเปิดใช้งาน Safe Mode ผ่านหน้าต่าง System Configuration

โดยคลิกปุ่ม Start แล้วพิมพ์คำสั่ง msconfig เพื่อเปิดหน้าต่าง System Configuration (หรือจะกดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเรียกใช้งานหน้าต่าง Run ก็ได้)

เมื่อหน้าต่าง System Configuration ถูกเปิดขึ้นมา ให้คลิกแท็บ Boot สังเกตที่หัวข้อ Boot options แล้วติ๊กถูกหน้าหัวข้อ Safe boot พร้อมกับเลือก Minimal แล้วคลิก Apply -> OK

คลิก Restart เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่องใหม่

วิธีที่ 3 เรียกใช้งาน Safe Mode ผ่าน Windows 10 Recovery ที่ทำด้วยแฟลชไดรฟ์

ซึ่งทางเว็บไซต์ได้ทำการอัพเดตวิธีการทำ Windows 10 Recovery กับ USB Drive ไว้ในบทความก่อนหน้านี้ กรณีนี้จะเหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆที่ไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอ Sign in หรือหน้าจอเดสก์ทอปตามปกติได้ (หรือถึงกับเข้าขั้นอาการหนักแล้วนั่นเอง)

โดยเลือก Keyboard Layout ให้ตรงกับคีย์บอร์ดที่เราใช้อยู่ (ส่วนใหญ่จะเป็น US)

แล้วเลือก Troubleshoot

เลือก Advanced options

เลือก Command Prompt เพราะวิธีการนี้ เราต้องเปิดการทำงาน Safe Mode ผ่านหน้าจอ Command Prompt

ด้วยการพิมพ์คำสั่ง bcdedit /set {default} bootmenupolicy legacy แล้วกด Enter

ถ้าหากใช้งานเสร็จแล้ว เราก็ปิดการใช้งาน Safe Mode กลับให้เหมือนเดิม เพื่อให้ระบบทำการบูตได้เร็วเหมือนเดิมนั่นเอง

โดยใช้คำสั่ง bcdedit /set {default} bootmenupolicy standard แล้วกด Enter (หรือจะเรียกใช้คำสั่งนี้ผ่านหน้าต่าง Command Prompt บนระบบ Windows 10 แบบปกติก็ได้ แต่ต้องเปิดด้วยสิทธิ์ Administrator ด้วยนะครับ)

เมื่อพิมพ์คำสั่งดังกล่าวเสร็จแล้ว ก็ทำการปิดหน้าต่าง Command Prompt แล้วคลิก Continue

เมื่อระบบทำการบูตใหม่ ก็ให้ทำการกดปุ่ม F8 หรือ Shift + F8 ย้ำๆ ก็จะพบเจอกับหน้าจอ Advanced Boot Options ให้เลือกใช้งาน

วิธีที่ 4 จะเป็นการจับเอาฟีเจอร์ Safe Mode มาไว้ที่ Context Menu หรือเมนูคลิกขวา

เรามาเพิ่ม Safe Mode ไว้ที่เมนูคลิกขวาให้เรียกใช้ได้ง่ายๆกันดีกว่า

ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเปิดใช้งาน Safe Mode บน Windows 10 ไว้ถ้าหากเจอวิธีการใดๆเพิ่ม ผมจะนำมาอัพเดตลงในบทความให้อีกครับ

varietypc

ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ