SONY VAIO Duo 11 Ultrabook + Tablet

AIDA64 CPUID

AIDA64 Cache & Memory Benchmark

TechPowerUp GPU-Z

Super PI

ในส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของเครื่องก็จะเป็น SSD ที่เป็นรุ่น ADATA XM14 กับขนาดความจุ 128GB ซึ่ง SSD ที่มีมาให้นี้ จะถูกฝังอยู่ภายในเครื่องเลยนะครับ เราจะไม่สามารถแกะดูหรือเปลี่ยนอัพเกรดสำหรับอนาคตได้

สำหรับการอ่าน-เขียนข้อมูลกับผลทดสอบด้วย HD Tune ที่ได้ก็ถือว่าทำได้รวดเร็วดีทีเดียวครับ

HD Tune – Benchmark

HD Tune – Random Access

CINEBENCH R10

CINEBENCH R11.5

3DMark06

PCMark05

Wireless Test

เรามาทำการตรวจสอบการรับสัญญาณไวเลสกับชิพ Intel Centrino Advanced-N6235 ที่อยู่ภายในกันบ้างครับ ซึ่งตัวรับสัญญาณที่มีมาให้ในเครื่องจะรองรับคลื่นความถี่ได้ทั้งย่าน 2.4GHz และย่าน 5GHz โดยมีตัวส่งสัญญาณเป็น Wireless Router ของยี่ห้อหนึ่งที่ปล่อยสัญญาณอยู่ใกล้ๆระยะประมาณ 2 เมตรและส่งได้ทั้ง 2 คลื่น โดยใช้ SSID เป็นชื่อ VarietyPC 5G (ย่าน 5GHz) และ VPC-AP (ย่าน 2.4GHz) ส่วนชื่อ VarietyPC จะส่งมาจากอุปกรณ์ Ubiquity จะใช้ในย่าน 2.4GHz และอยู่ห่างจากตัวรับก็คือ VAIO Duo 11 ห่างกัน 2 ชั้นครึ่งของตัวอาคาร นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นคลื่นที่ลอยอยู่บริเวณใกล้เคียงและไกลกันออกไปครับ ก็สามารถทำการตรวจจับสัญญาณไวเลสโดยเฉพาะย่าน 5GHz ได้ค่อนข้างนิ่งดีทีเดียว

ตั้งแต่อยู่แถวนี้มาใช้โทรศัพท์สแกนหาคลื่นสัญญาณ ยังไม่เคยเห็นคลื่นเยอะขนาดนี้มาก่อน แต่ก็คงจะเป็นที่ตัวรับของโทรศัพท์มีกำลังส่งกลับไปหา Access Point ที่ต่ำก็เป็นได้ครับ

Time Graph

2.4GHz Channels

5GHz Channels

BatteryMon กับระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่ก็ใช้เวลาการชาร์จเริ่มจาก 6% จนเต็ม 100% รวมทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 24 นาทีครับ

Conclusion

ในส่วนของการทำงานโดยรวมของ SONY VAIO Duo 11 Ultrabook ก็ถือว่าทำได้ค่อนข้างรวดเร็วครับ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมซอฟต์แวร์ต่างๆบนหน้าจอ ซึ่งทั้งหมดเราสามารถสลับสับเปลี่ยนจากการใช้ Trackpad ที่ทำหน้าที่แทนเคอร์เซอร์เม้าส์ไปเป็นการกดจิ้มบนหน้าจอได้เลย ก็ทำให้เกิดการคล่องตัวต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากหากท่านใดใช้แท็บเล็ตอยู่เป็นประจำละก็จะสัมผัสถึงการใช้งานที่ ลงตัวและรวดเร็วขึ้นจริงๆครับ

จุดเด่น

– ในการใช้งาน เราสามารถเลือกการใช้งานได้ว่าต้องการใช้งานในแบบแท็บเล็ตหรืออัลตร้าบุค ซึ่งถ้าหากต้องการใช้งานในแบบแท็บเล็ต ก็สามารถใช้นิ้วหรือใช้ปากกา Digitizer Stylus ผ่านจอทัชสกรีนได้เลย

– หูฟังที่มีมาให้ เสียงที่ได้ก็ค่อนข้างนุ่มนวล ก็ช่วยเพิ่มอรรถรสในด้านเอนเตอร์เทนเม้นต์ได้ดีทีเดียว

– ในการใช้งานกับบางสถานที่ ถ้าจำเป็นต้องใช้ทางด้านการพิมพ์ข้อความให้ได้รวดเร็ว ก็สามารถปรับการใช้ให้เป็นอัลตร้าบุคได้ และยังสลับใช้ทัชสกรีนได้อีกด้วย

– สามารถเปิดเครื่องให้พร้อมใช้งานได้ทันที เท่าที่ลองจับเวลา ก็ใช้เวลาสั้นเพียง 3-4 วินาทีเท่านั้น

– มีกล้องดิจิตอลเว็บแคมมาให้ใช้งานทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จำนวน 2 ตัว สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ

– การใช้งานอย่างต่อเนื่อง เท่าที่สังเกตอย่างเช่น ขณะทดสอบด้วยซอฟท์แวร์เบิร์นต่างๆก็พบว่า อุณหภูมิความร้อนแค่อุ่นๆนิดหน่อย ซึ่งถ้าเทียบกับการใช้งานแบบทั่วไป ในเรื่องความร้อนก็ไม่ต้องกังวลเลยครับ (แต่ขณะที่ผมทำการทดสอบอุณหภูมิห้องประมาณ 25-26 องศา)

จุดด้อย

– ตัวเครื่องจะมีแรมมาให้ตายตัวที่ 4GB จะไม่สามารถเพิ่มให้สูงกว่านี้ได้

– ในอนาคตถ้าหากต้องการเปลี่ยน SSD ให้มีความจุเยอะขึ้น จะไม่สามารถทำได้

– หากต้องใช้งานในแบบอัลตร้าบุค จะปรับหน้าจอได้แค่มุมเดียวก็คือ 45 องศาเท่านั้น

– ตัวเครื่องมีน้ำหนักเยอะที่ 1.3 กิโลกรัม หากต้องการใช้งานระหว่างเดินทางในแบบถือให้เป็นแท็บเล็ตอาจจะไม่ค่อยสะดวกครับ

ขอขอบพระคุณ บริษัทโซนี่ไทย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

Page: 1 2 3 4

varietypc

ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ