GIGABYTE GeForce GTX 580 รีวิวและผลทดสอบ

เกริ่นนำกันก่อน

ห่างหายกันไปหลายวันเลยกับการอัพเดตเนื้อหาภายในเว็บ VPC จริงๆก็ไม่ได้ไปไหนไกลนะครับ ไม่ได้ไปอู้แอบหลับนอนอยู่แถวไหน อยู่แถวๆนี้แหละ กับเวลาหลังเลิกงานหลัก ก็นั่งอยู่แต่หน้าจอทดสอบฮาร์ดแวร์ที่วางกองอยู่เต็มไปหมดเลย อิอิ (แบบว่าทดสอบกันไม่ทัน 555) วันนี้ผมได้รับกราฟิคการ์ดอีกหนึ่งรุ่นที่ถูกส่งมาให้ทำการทดสอบกันอีกแล้ว นะครับ แต่ครั้งนี้ถือได้ว่าไม่ธรรมดาเลยจริงๆ เพราะการ์ดที่นำมาทำการทดสอบในวันนี้เป็นการ์ดที่เรียกได้ว่าอยู่ในระดับสูง ของตลาดไอที ณ เวลานี้เลยก็ว่าได้ ถือเป็นที่สุดของทางค่ายเขียวอย่าง Nvidia ณ เวลานี้ด้วย นั่นก็คือ กราฟิคการ์ดที่ใช้ชื่อรุ่นว่า GeForce GTX 580 มีมากับแบรนด์ดังๆอย่าง GIGABYTE และโค้ดเนมใหม่บนชิพ GPU อย่าง GF110 นั่นเอง

โดยหลังจากที่ผ่านมาทาง Nvidia ได้มีการเปิดตัวกราฟิคชิพ GF100 ที่มีมากับรุ่น GeForce GTX 480, 470 และ 465 ไปเรียบร้อยแล้ว ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการรองรับเทคโนโลยีการแสดงภาพด้วย API ที่เป็นลูกเล่นใหม่ของ Microsoft อย่าง DirectX 11 ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพ โดยการนำเอาเทคโนโลยี Tessellation ซึ่งเป็นจุดเด่นของ DirectX เวอร์ชั่นใหม่นี้ ให้มีความสวยงาม สมจริงกับการมองรายละเอียดต่างๆบนตัววัตถุได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อเทียบกับ DirectX 10 ถือว่ามีความแตกต่างกันมากพอสมควร

โครงสร้างของชิพรหัส GF110

สำหรับโครงสร้างบล็อคไดอะแกรมภายในของชิพ GF110 จะมีการบรรจุชุด GPC (Graphics Processor Cluster) มาให้ 4 ชุด และภายในตัว GPC แต่ละชุดก็จะมี Streaming Multiprocessor (SM) แยกออกมาให้อีก 4 ชุดด้วยกัน ซึ่งในตัว SM แต่ละชุดนี้ก็จะมี CUDA Core มาให้ 32 Core เมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะทำให้ชิพรุ่นนี้มี CUDA Core มาให้มากถึง 512 Core กันเลยทีเดียว และอยู่ภายใต้การควบคุมของชุด Memory Controller อีก 6 ชุดด้วย ซึ่งถือว่าจำนวน CUDA Core และ Memory Controller เยอะที่สุดแล้วกับ ณ เวลานี้ ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรม Nvidia Fermi (แต่ในอนาคตอันใกล้กับชิพรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีการบรรจุ CUDA Core เข้าไปมากกว่านี้อีกครับ)

เครดิตรูปจาก anandtech.com

ความแตกต่างระหว่าง GeForce GTX 480 (GF100) และ GeForce GTX 580 (GF110)

เครดิตรูปจาก legitreviews.com

และการเปรียบเทียบค่า TDP

+ GeForce GTX 580: 512 SP, 384-bit, 243W TDP
+ GeForce GTX 480: 480 SP, 384-bit, 250W TDP
+ GeForce GTX 470: 448 SP, 320-bit, 225W TDP

สเปคมาตรฐานที่มีมากับตัวการ์ด GeForce GTX 580

เครดิตรูปจาก legitreviews.com

ฟีเจอร์เด่นๆที่มีมาให้กับการ์ดรุ่นนี้

2 พันล้านครั้งต่อวินาที ด้วย 512 Core 16 PolyMorph Engine ซึ่งเจ้าเอนจิ้นตัวนี้เมื่อผนวกรวมกับ CUDA Core จะช่วยทำให้การประมวลผลทางด้านรูปทรงของวัตถุเป็นไปได้อย่างชัดเจนมากยิ่ง ขึ้น

ประสิทธิภาพที่ได้จาก DirectX 11 ด้วยเทคโนโลยี Tessellation เมื่อเทียบกับการ์ดรุ่นอื่นๆ

ด้วย เทคโนโลยี Tessellation สามารถดึงเอาเทคโนโลยีอย่าง DirectX 11 จากเกม HAWX2 เข้ามาช่วยในรายละเอียดต่างๆ รวมถึงเกมที่จะมีตามออกมาในอนาคตด้วย

ภาพที่ได้จากการปิด Tessellation

และเมื่อมีการเปิดใช้งาน Tessellation จะทำให้มีการแสดงรายละเอียดของภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

GeForce GTX 580 สามารถดึงประสิทธิภาพจาก DX11 ออกมาได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

เสียงเซอร์ราวด์แบบรอบทิศทางและการต่อแสดงผลแบบหลายจำภาพ (Multi-Display)

การดึงประสิทธิภาพทางด้าน 3D ด้วยเทคโนโลยี PhysX

การดึงประสิทธิภาพ 3D แบบความมันส์ทะลุจอ จากเกม Call of Duty: Black Ops

เทคนิคทางการตลาดที่จะช่วยทำให้เกม Call of Duty: Black Ops เติบโตทางด้าน 3D ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

รวมทั้งประสิทธิภาพจากเกม เมื่อเทียบกับการ์ดของอีกค่ายอย่าง AMD HD5870

สเปคมาตรฐานที่มีมากับ Reference Card อย่าง GeForce GTX 580

GeForce GTX 580 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม และเมื่อมีการต่อการ์ดหลายตัว (Multi-GPU) ด้วยฟังก์ชั่น 3-Way SLI จะทำให้การเล่นเกมดีที่สุดอีกด้วย

Page: 1 2 3 4 5

varietypc

ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ