เพิ่มความเร็วการทำงานให้เซอร์วิสกับ Services.msc ในวินโดวส์

0
5138

Services เป็นรูปแบบการทำงานของโปรแกรมภายในวินโดวส์โปรแกรมหนึ่ง ซึ่งโปรแกรมที่อยู่ในกลุ่มของ Services เหล่านี้จะคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใช้ในด้านที่มันรับผิดชอบ โดยจะคอยทำงานอยู่เบื้องหลัง จะว่าไปก็เหมือนกับโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะของ Background นั่นเอง

สำหรับ Services ในวินโดวส์นั้น ท่านสามารถที่จะเข้าไปจัดการมันได้โดยคลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์คำสั่ง Services.msc > OK แล้วหน้าต่างของโปรแกรม Services จะรันขึ้นมา และในหน้าต่างนี้เอง เราสามารถปรับแต่งการทำงานโดยเลือกการตั้งค่า Services ที่ต้องการด้วยการคลิกขวาแล้วเลือก Properties (หรือจะดับเบิลคลิกที่เซอร์วิสนั้นๆได้เลย)

+ Automatic ให้ Services เริ่มทำงานโดยอัตโนมัติทุกครั้ง เมื่อเริ่มกระบวนการบูตเครื่องเข้าวินโดวส์

+ Manual ไม่ให้ Services ทำงานแบบอัตโนมัติ แต่เราสามารถสั่งให้ Services แต่ละตัวหยุดหรือเริ่มการทำงานได้ด้วยตัวเราเอง

+ Disable เป็นการปิดการทำงานของ Services ไม่ให้มีการทำงาน

และเนื่องจาก Services ของระบบวินโดวส์มีอยู่มากมาย บางตัวเป็น Services ของโปรแกรมต่างๆ ที่เราได้ทำการติดตั้งเอาไว้ และบางตัวก็เป็น Services ของระบบวินโดวส์ ดังนั้นเราจะต้องทราบถึงหน้าที่ของ Services แต่ละตัวก่อน ว่า Services ตัวไหนเป็นของโปรแกรมอะไร ตัวไหนปิดได้ ตัวไหนปิดไม่ได้ ซึ่งหน้าที่ของ Services แต่ละตัวมีดังนี้

+ Adobe LM Service: เป็น Service ของโปรแกรม Adobe ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ถ้าท่านมี Service ตัวนี้อยู่ก็ปิดได้

+ Alerter: ถ้าท่านไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายก็สามารถปิดได้

+ Application Management: สำหรับตัวนี้ไม่แนะนำให้ปิด แต่ให้เปลี่ยนเป็น Manual แทน

+ Automatic Updates: Service สำหรับ Windows Update อันนี้ไม่ควรปิด นอกจากท่านจะใช้วิธีอัพเดตแบบออฟไลน์ผ่านโปรแกรม Autopatcher แทน

+ ClipBook: เป็นตัวแชร์ไฟล์บางอย่างบนเครือข่าย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ก็ปิดได้

+ Computer Browser: ตัวนี้ก็ปิดได้ถ้าไม่ได้ติดต่อกับเครือข่ายเหมือนกัน เพราะมันไว้สำหรับเข้าไปดึงไฟล์จากเครื่องอื่น

+ Cryptographic Services: ตัวนี้ไว้สำหรับการเข้ารหัส ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ก็ให้ตั้งเป็น Manual

+ Distributed Transaction Coordinator: ตั้งค่าให้เป็น Manual

+ DNS Client: ตัวนี้ตั้งค่าเป็น Manual ไว้ก็ได้ ถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

+ Error Reporting Service: เมื่อมีบางโปรแกรมแฮงค์แล้วมีไดอะล็อกบ็อกซ์ให้กดปุ่ม Don’t Send ถ้าไม่อยากให้ขึ้นก็ปิดได้เลย

+ Fast User Switching Compatibility: สำหรับเครื่องที่มีแรมน้อยปิด Service ตัวนี้ไว้ดีกว่า เพราะ Fast User Switching ไว้สำหรับสลับการทำงานของ User โดยไม่ต้อง Logout ก่อน ถ้าเครื่องของท่านมีแค่ User คนเดียวก็ปิดได้เลย

+ FTP Publishing: ถ้าไม่ได้ใช้งาน FTP ก็ปิดด้วย

+ Help and Support: ถ้าท่านไม่เคยใช้ฟังก์ชันระบบช่วยเหลือของวินโดวส์ก็ให้ปิด

+ HTTP SSL: ตั้งไว้เป็น Manual เมื่อต้องใช้ในการเข้าเว็บที่มี Secure Login อย่างเช่น E-Banking, Hotmail

+ Human Interface Device Access: ถ้าท่านไม่ได้ใช้ Hot-Key หรือ Remote System ก็ให้ปิด

+ IMAPI CD-Burning COM Service: สำหรับท่านที่ใช้ไดร์ฟเขียนแผ่น CD/DVD ไม่ควรปิด แต่ให้ตั้งค่าแบบ Manual ไว้ครับ เพื่อประหยัดเนื้อที่ของแรม

+ Indexing Service: ตัวนี้เป็น Service ที่กินทรัพยากรของเครื่องสูงมาก สำหรับการทำ Index ในการค้นหาข้อมูลในเครื่อง ดังนั้นถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังก์ชันค้นหาของวินโดวส์ก็ให้ปิด

+ InstallDriver Table Manager: ตัวนี้ก็ปิดได้ และไม่ส่งผลเสียต่อการทำงาน

+ IPSEC Services: ตั้งค่าให้เป็น Manual

+ Windows Messenger: ถ้าท่านไม่ได้ใช้งาน Windows Messenger (คนละตัวกันกับ MSN Messenger หรือ Windows Live Messenger นะ) ก็ให้ปิดด้วย เพราะมันกินแรมเยอะพอสมควร

+ MS Software Shadow Copy Provider: ตัวนี้ตั้งค่าให้เป็น Manual

+ Net Logon: ถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายก็ให้ปิดได้เหมือนกันครับ

+ NetMeeting Remote Desktop Sharing: สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้ใช้งาน Remote Desktop อยู่แล้วก็ให้ปิดไปได้เลยเหมือนกัน

+ Network Provisioning Service: ถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายก็ให้ปิดได้เหมือนกัน

+ NT LM Security Support Provider: ปิดไปได้เลย

+ NVIDIA Display Driver Service: สำหรับท่านที่ใช้การ์ดจอ nVidia แล้วไม่ได้ใช้งาน nVidia Desktop ก็ให้ปิดครับ

+ Office Source Engine: ตัวนี้ก็ปิดได้อีกเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะใช้กับโปรแกรม Microsoft Office ซึ่งถ้าตัวโปรแกรมมีปัญหาแล้วต้องการซ่อมแซมไฟล์ระบบ คุณสามารถใช้แผ่นซีดีติดตั้งที่มีอยู่ติดตั้งแทนได้

+ Portable Media Serial Number Service: ตัวนี้ให้ตั้งเป็น Manual เพราะส่วนใหญ่เราจะใช้สื่อแบบพกพาแทน

+ Print Spooler: ถ้าเครื่องของท่านไม่มีพรินเตอร์พ่วงต่ออยู่ก็ให้ปิด

+ Protected Storage: ปิดไปด้วยเลย ถ้าท่านมีเครื่องไว้ใช้งานคนเดียว

+ Remote Desktop Help Session Manager: ถ้าท่านไม่ได้ใช้งาน Remote Desktop ก็ให้ปิด

+ Remote Procedure Call (RPC) Locator: ตัวนี้ให้ตั้งค่าเป็น Manual ครับ

+ Remote Registry: ให้ตั้งค่าเป็น Manual ไว้ครับ

+ Removable Storage: ตัวนี้ไม่ควรปิด ถ้าเราใช้งาน USB Drive อยู่เป็นประจำ แต่ให้ตั้งค่าเป็น Manual ไว้แทนครับ

+ Routing and Remote Access: อันนี้ให้ตั้งค่าเป็น Manual ครับ

+ Secondary Logon: ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จาก Service ตัวนี้ ให้ปิดไปได้เลย หรือถ้าไม่แน่ใจให้ตั้งไว้เป็น Manual แทน

+ Security Accounts Manager: ปิดไปได้เลย เพราะไม่ได้ใช้งานอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะใช้การเข้ารหัสบน NTFS

+ Security Center: ตัวนี้ก็ปิดได้ เปิดไว้ก็กินทรัพยากรเครื่องโดยเปล่าประโยชน์

+ Server: ถ้าท่านไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายก็ให้ปิด

+ Smart Card: ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครใช้ Smart Card กับเครื่องที่บ้าน ก็ให้ปิด

+ SSDP Discovery Service: ใช้สำหรับอุปกรณ์บนเครือข่ายแบบ UPnP เราๆท่านๆไม่ค่อยได้ใช้งานก็ให้ปิดไปครับ

+ Task Scheduler: หากท่านไม่ได้ตั้งค่าการทำงานอะไรไว้ที่ Task Scheduler เช่น การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสต์ก็ให้ปิด

+ TCP/IP NetBIOS Helper: ตัวนี้ตั้งค่าไว้เป็น Manual ครับ

+ Telnet: สำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน คงไม่ค่อยได้ใช้งานจาก Telnet ดังนั้นให้ปิดครับ หรือไม่ก็ตั้งให้เป็น Manual ไว้ก็ได้

+ Terminal Services: ถ้าท่านไม่ได้ใช้งาน Remote Desktop ก็ปิดไปได้อีกเหมือนกัน

+ Uninterruptible Power Supply: Service ตัวนี้ก็ปิดไปได้เลย ถ้าเครื่องของคุณมาได้ต่อผ่านหรือใช้งานร่วมกันกับ UPS ผ่าน Com Port

+ Universal Plug and Play Device Host: ตัวนี้ห้ามปิดครับ แต่ให้ตั้งค่าไว้เป็น Manual แทน

+ User Privilege Service: ตัวนี้ให้ตั้งไว้เป็น Manual

+ Volume Shadow Copy: ถ้าท่านไม่ได้เรียกใช้งาน System Restore ก็ปิดไปได้เลย

+ Windows Firewall/Internet Connection Sharing (ICS): ถ้าเครื่องของท่านมีซอฟต์แวร์ไฟล์วอลล์นอกเหนือจากที่มีติดมากับวินโดวส์อยู่แล้ว ก็ให้ปิดไปได้เลย (ปกติถึงไม่มีก็ปิดกันอยู่แล้ว)

+ Windows Image Acquisition (WIA): ใช้สำหรับการดึงภาพออกจากกล้องดิจิตอลและสแกนเนอร์ ให้ปิดถ้าไม่ได้ใช้งาน

+ Windows Media Connect: หากท่านไม่ได้ต่อเครื่องเล่น MP3 ที่รองรับการ Sync ข้อมูลกับ Windows Media Player ได้ ก็ปิดไปได้ครับ

+ Windows Media Connect (WMC) Helper: ระบบช่วยเหลือตัวนี้ก็ปิดไปได้เลย

+ Windows Time: ถ้าไม่ได้ใช้งานร่วมกันกับระบบตั้งเวลากับ Server ก็ปิดด้วยครับ

+ Wireless Zero Configuration: ถ้าไม่ได้ใช้งานกับระบบเครือข่ายไร้สายก็ให้ปิด

+ WMI Performance Adapter: สำหรับการใช้งานทั่วไปก็ปิดได้เช่นกันครับ

+ Workstation: ตัวนี้ก็เหมือนกัน ให้ปิดได้เลย ถ้าท่านไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย

Note. การปรับแต่งค่าต่างๆ ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูงครับ เพราะหากท่านปิด Services ที่สำคัญของระบบอาจจะทำให้ระบบบางอย่างไม่สามารถทำงานได้หรืออาจจะส่งผลเสีย ต่อระบบ ดังนั้นควรศึกษาการทำงานของ Services แต่ละตัวให้ดีเสียก่อน ถ้าไม่แน่ใจว่า Services ตัวนั้นๆมีหน้าที่อย่างไรก็ไม่ต้องไปปรับแต่ง หรือถ้าต้องการปรับแต่งจริงๆให้ท่านตั้งค่าไว้เป็นแบบ Manual แทนครับ เพื่อลดความเสี่ยงจากการปรับแต่ง Services ผิดตัว



บทความก่อนหน้านี้10 วิธีกับคู่มือช่วยลด ภาวะโลกร้อน
บทความถัดไปลบไฟล์ขยะในโฟลเดอร์ Temp เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ฮาร์ดดิสต์
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่