วิธีแก้ ติดตั้ง Windows 10 เสร็จ แล้วเสียงเบา

0
9737
วิธีแก้ ติดตั้ง Windows 10 เสร็จ แล้วเสียงเบา
วิธีแก้ ติดตั้ง Windows 10 เสร็จ แล้วเสียงเบา

ทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับวันนี้กับบทความ ติดตั้ง Windows 10 เสร็จ แล้วเสียงเบา แก้ไขอย่างไรดี

กับมือใหม่บางท่านโดยภายหลังที่มีการติดตั้ง Windows 10 เสร็จแล้ว ตัวระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะทำการติดตั้งไดร์เวอร์ต่างๆเช่น ไดร์เวอร์การ์ดจอ, ไดร์เวอร์เสียง, ไดร์เวอร์ชิพเซ็ต, ฯลฯ ผ่าน Windows Update ให้โดยอัตโนมัติหากระบบทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเอาไว้ โดยเฉพาะในบทความนี้ จะเน้นไปที่ไดร์เวอร์เสียง, การตั้งค่า และใช้หูฟัง (Headphone) เป็นหลัก

ซึ่งหลายๆท่านอาจจะคิดว่า เมื่อระบบทำการอัพเดตไดร์เวอร์เสียงผ่าน Windows Update ให้โดยอัตโนมัติแล้ว เสียงก็ดังแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้ แต่จริงๆแล้ว เสียงที่ได้มาจะเป็นแค่ระบบเสียงมาตรฐานที่ Windows 10 ติดตั้งให้เท่านั้น (ส่วนหนึ่งก็เพราะฮาร์ดแวร์ที่เราใช้อยู่ มีอายุเก่ากว่าตัว Windows 10 ด้วย) จะยังทำงานได้ไม่เต็มที่หรือเสียงเบากว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดไฟล์มัลติมีเดียอย่างการดูหนัง, ฟังเพลง, ดูคลิปต่างๆ ยิ่งถ้าหากใครสังเกตดูก่อนที่จะทำการติดตั้ง Windows 10 ถ้าใช้ Windows รุ่นเก่า เวลาเสียบต่อด้วยหูฟังจะพบว่ามีเสียงดังมาก ก็เพราะเราต้องทำการติดตั้งไดร์เวอร์เสียงโดยเฉพาะเข้าไปและตัว Windows ก็บังคับด้วย แต่พอติดตั้ง Windows 10 เสียงที่ได้ กลับเบาลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะใช้ไดร์เวอร์จากทางไมโครซอฟท์ที่อัพเดตอัตโนมัติผ่าน Windows Update ทำให้เสียงที่ได้มาแสดงผลได้ยังไม่เต็มที่นั่นเอง

Note. สำหรับกรณีอัพเดตระบบ Windows 10 เป็น Build ล่าสุด แล้วเสียงเบาลงกว่าปกติ แนวทางแก้ไขในบทความนี้ก็สามารถใช้ร่วมกันได้

ในส่วนของการหาสาเหตุ

แรกๆผมก็มุ่งประเด็นไปที่ Sound Playback ก่อน เพราะคิดว่าระบบคงปรับเสียงมาให้ไม่เต็มที่ แต่เมื่อเข้ามาดู ก็พบว่าเสียงถูกเร่งไว้ 100% แล้ว

ลองสั่งปิดการทำงานของ Sound Enhancements ก็แล้ว แต่ยังไม่ผ่าน

หรือจะลองแก้ไขปัญหา Playing Audio ด้วยเครื่องมือ Troubleshoot ดูหน่อยว่าจะมี Error หรือระบบจะซ่อมแซมส่วนที่ Error ให้กลับมาใช้งานได้ปกติหรือไม่

แต่ก็ยังไม่ผ่าน

ทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหา

นั่นก็เป็นเพราะ เรายังไม่ได้ติดตั้งไดร์เวอร์เสียงโดยเฉพาะเข้าไปในระบบ ในบทความนี้ผมจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้เมนบอร์ดที่มีชิพเสียงจากค่าย Realtek ประกอบบทความ แต่ระยะหลังๆมา รู้สึกว่าชิพเสียงบนเมนบอร์ดหลายๆค่ายไม่ว่าจะใช้กับคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปหรือโน๊ตบุ๊คก็จะถูกครอบครองโดยชิพเสียงค่าย Realtek เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่… เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าชิพเสียงบนคอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊คของเรา เป็นของผู้ผลิต Realtek หรือไม่

วิธีตรวจสอบชิพเสียง สำหรับช่าง ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปพีซีบางท่านก็อาจจะเปิดฝาเคสออก แล้วส่องไฟฉายดูรหัสบนชิพเสียงเอาว่ามีโค้ดอะไรบ้าง ถ้าสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นชินว่าชิพเสียงอยู่ส่วนไหนของเมนบอร์ด ก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมตรวจสอบสเปคคอมพิวเตอร์อย่าง AIDA64 Extreme มาติดตั้งบน Windows

https://www.aida64.com/downloads

แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมา โดยเลือกที่หัวข้อ Multimedia -> PCI /PnP Audio จะระบุรายละเอียดเอาไว้ว่าเป็นชิพเสียงของผู้ผลิต Realtek หรือไม่

Realtek Audio Drivers for Windows 10, Windows 8 และ Windows 7 Download

-> 32bit_Win7_Win8_Win81_R272-[Guru3D.com].exe

-> 64bit_Win7_Win8_Win81_R272-[Guru3D.com].exe

รหัสดาวน์โหลดคือ www.varietypc.net

เมื่อมีการติดตั้งไดร์เวอร์ให้ชิพเสียงเสร็จแล้ว จะพบว่าตัวควบคุมเสียงบน Windows 10 จะเปลี่ยนไปจาก Speakers (High Definition Audio Device) เป็น Speakers (Realtek High Definition Audio)

ที่ Notification area จะพบว่ามีไอคอน Sound Manager ของ Realtek เพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งตรงนี้เมื่อติดตั้งไดร์เวอร์เสร็จจนมีไอคอนแสดงขึ้นมาแล้วก็จริงอยู่ แต่เสียงที่ได้ยังไม่ดังเท่าที่ควร เราก็ต้องตั้งค่าเพิ่มเติมกันอีกหน่อย

โดยคลิกขวาที่ไอคอน Realtek HD Audio Manager แล้วเลือก Sound Manager

ที่หน้าต่าง Realtek HD Audio Manager ให้คลิกแท็บ Speaker แล้วดับเบิ้ลคลิกปุ่มแจ๊คสีเขียวที่แผง Analog Back Panel แล้วปรับเปลี่ยนค่าจากเดิมที่เป็น Front Speaker Out ไปเป็น Headphone เพียงเท่านี้ เสียงก็จะดังกว่าที่ควรจะเป็นแล้วครับ



บทความก่อนหน้านี้วิธีเปลี่ยนรูปแบบเวลาเป็น 24 ชม.บน Windows 10
บทความถัดไปวิธีเปิดใช้โหมดกลางคืน Night Light บน Windows 10
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่