ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

0
4343
ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870
ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

ช่วงนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า 2553 และต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ 2554 หลายๆท่านก็เริ่มเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด บ้างก็ไปเลี้ยงฉลองกับครอบครัว แต่ไหนๆก็เดินทางไกลกันแล้ว ก็ขอให้ทุกท่านเดินทางปลอดภัยและโดยสวัสดิภาพกันด้วยนะ รวมทั้งรักษาสุขภาพกันด้วย เพราะช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย บทจะหนาวก็หนาว บทจะร้อนก็ร้อนขึ้นมาดื้อๆ แถมยังมีฝนตกอีกด้วยทั้งๆที่ก็อยู่ในช่วงฤดูหนาวนะครับ เอาเป็นว่าขอสวัสดีปีใหม่กับเพื่อนๆพี่น้อง VPC ผ่านบทความรีวิวเรื่องนี้ด้วยเลยก็แล้วกันนะครับผม

มาต่อกันที่เนื้อหาของวันนี้กันบ้างเราก็ได้รับกราฟิคการ์ดอีกหนึ่งรุ่น มานำเสนอเพื่อนๆสมาชิก ในเว็บ VPC ได้รับชมและคงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับท่านที่กำลังมองหาการ์ดที่เสริม คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อใช้ในการเล่นเกม หรือการทำงานในด้านกราฟิคต่างๆตามความต้องการอีกแล้วนะครับ เรียกได้ว่ามีแต่สิ่งดีๆมามอบให้กันตลอดเวลากันเลยทีเดียว อิอิ โดยสำหรับบทความรีวิวฮาร์ดแวร์ในวันนี้ทาง VPC Lab ก็ได้รับเกียรติจาก Gigabyte มาให้ทำการทดสอบอีกเช่นเคย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีรุ่นน้องอย่าง Gigabyte AMD Radeon HD 6850 ที่ใช้ระบบการระบายความร้อนด้วยพัดลมคู่แฝดไปแล้ว ในวันนี้ก็จะถึงคราวของรุ่นพี่ที่มากับชื่อรุ่นว่า Gigabyte AMD Radeon HD 6870 มาอวดโฉมอีกหนึ่งรุ่นด้วย

เรามาดูกันดีกว่าว่าจุดเด่นที่มีมากับกราฟิคการ์ดรุ่นนี้จะมีคุณสมบัติ, การใช้พลังงาน, ระดับความร้อน และการวัดประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรกันบ้างครับ

กราฟิคชิพในซีรี่ย์ Radeon HD 6800 จะถูกนำมาวางจำหน่ายในตลาดระดับกลาง และจะถูกพัฒนาบนสถาปัตยกรรมที่ใช้โค้ดเนมว่า Barts โดยในรุ่น HD 6850 จะเป็นโค้ดเนม Barts Pro แต่ในรุ่น HD 6870 ตัวที่จะนำเสนอในบทความต่อไปนี้จะใช้โค้ดเนมว่า Barts XT ครับ ส่วนหนึ่งทาง AMD ต้องการออกแบบการ์ดในซีรีย์ระดับนี้เพื่อแย่งชิงตลาดกราฟิคกับคู่แข่งอย่าง Nvidia ในซีรี่ย์ GTX 460 และ GTX 465 และลดช่องว่างในตลาดกราฟิคของทาง AMD เองอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน เส้นทางอันสวยหรูของตลาดกราฟิคจาก AMD ในซีรี่ย์ HD 6800 กับรุ่น Radeon HD 6850 จะถูกออกแบบมาให้ทำงานได้เร็วกว่า Radeon HD 5830 และ Radeon HD 6870 ก็จะเร็วกว่า Radeon HD 5850 แต่จะไม่เร็วกว่า HD 5870 นะครับ สังเกตได้จากราคาที่ทาง AMD กำหนดเอาไว้ จะไม่สูงอย่างที่คิด

เรามาตรวจเช็คสเปคของการ์ดในระดับกลางจาก AMD กันว่าแต่ละรุ่นมีข้อแตกต่างอะไรกันบ้าง

Specifications
Radeon HD 5850
Radeon HD 6850
Radeon HD 6870
GPUCypress ProBarts ProBarts XT
Manufact. tech.40 nm40nm40nm
GPU Clock725 MHz775 MHz900 MHz
Stream processors14409601120
Memory frequency4000 MHz4000 MHz4200 MHz
Memory bus256-bit256-bit256-bit
Memory buffer1 GB GDDR51 GB GDDR51 GB GDDR5
Power consumption151 watt?~ 127 watt?>150 watt
PerformanceFaster than 5830Faster than 5850

คุณสมบัติ

กราฟิคการ์ดซีรี่ย์ Radeon HD 6870 จะมีสัญญาณนาฬิกาที่สูงพอสมควร โดยจะอยู่ที่ 900MHz, ใช้หน่วยความจำแบบ GDDR5 256 บิต ขนาด 1,024MB, มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพบนหน่วยความจำที่ 4,200MHz ทำให้ได้แบนด์วิดธ์สูงถึง 134GB ต่อวินาทีเลยทีเดียว, มีจำนวนคลัสเตอร์ (Cluster) อยู่ที่ 14 SIMD, texture units 56 หน่วย, มีจำนวน Shader Processors อยู่ที่ 1,120 ตัว, รวมทั้งจำนวน ROPs (Raster Operators) หรือ Pipeline ในชื่อเก่าอยู่ที่ 32 หน่วย นอกจากนี้จะมีการใช้พลังงานอยู่ที่ประมาณ 150 วัตต์เลยทีเดียว แต่ถ้าหากไม่ได้มีการเรียกใช้งานกราฟิค จะเกิดการสูญเสียพลังงานไปเพียง 19 วัตต์เท่านั้นครับ ทำให้เมื่อนำรายละเอียดดังกล่าวมาเทียบกับการ์ดรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง Radeon HD 5850 และ 5870 จะพบว่าประสิทธิภาพที่ได้จากการทำงานบน Radeon HD 6870 นั้นฉลาดกว่าพอสมควรครับ

และคุณลักษณะที่ชาญฉลาดในผลิตภัณฑ์กราฟิคการ์ดรุ่นล่าสุดที่มีการปรับ ปรุงบางส่วนให้สูงขึ้นนี้ จะเพิ่มเติมในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อ DisplayPort เวอร์ชั่น 1.2, การรับชมภาพยนตร์ 3 มิติหรือที่เรียกว่า HD3D, การถอดรหัสไฟล์หนังต่างๆให้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยฟีเจอร์ UVD3 และพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI เวอร์ชั่น 1.4a และยังมีการปรับปรุงโหมด Anti-aliasing หรือการลดรอยหยักในทุกๆจุดของภาพ เพื่อให้ภาพดูคมชัด สมจริงมากกว่าที่เคยมีในการ์ดซีรี่ย์ HD 5000 ก่อนหน้านี้ รวมถึงโหมด Tessellation ที่เป็นการเพิ่มรายละเอียดของวัตถุ 3 มิติแบบ Real-Time ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

ฟีเจอร์พิเศษที่มีมากับกราฟิคการ์ดรุ่นนี้

AMD HD3D

ในขณะที่ Nvidia มีฟีเจอร์ 3D Vision ที่รองรับความเพลิดเพลินในเรื่องของเกมส์, ภาพยนตร์, วิดีโอต่างๆ ทางด้าน 3 มิติ และแล้ว?AMD ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ก็มีฟีเจอร์เด็ดที่ถูกบรรจุเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อแย่งชิงเหมือนกันกับ AMD HD3D ที่ถูกพัฒนามาบนการ์ดซีรี่ย์ HD 6800 โดยเฉพาะ และการใช้แว่น 3 มิติแยกต่างหาก อีกทั้งยังรองรับการเล่นไฟล์บลูเรย์ (Blu-ray) 3 มิติ และแอพลิเคชั่น 3 มิติได้ด้วยการต่อร่วมกับจอแสดงผลที่รองรับผ่านพอร์ต HDMI 1.4a

ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

UVD3 (Universal Video Decoder 3.0)

จะมีการเพิ่มฟีเจอร์การถอดรหัสวิดีโอเข้าไปไว้ในตัวกราฟิคชิพ (GPU) ของตัวกราฟิคการ์ด เพื่อให้รองรับการทำงานกับซอฟต์แวร์มัลติมีเดียต่างๆที่หลายๆท่านชื่นชอบได้ ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น WinDVD, PowerDVD หรือ Media Player Classic โดยผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้ฟังก์ชั่นการสนับสนุน UVD3 ในตัวโปรแกรมดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง เพื่อเร่งการแสดงผลของฮาร์ดแวร์ร่วมกับซอฟต์แวร์ได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น รูปแบบไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงอย่าง MPEG2, H.264, VC-1 หรือแม้แต่ไฟล์ Blu-ray ซึ่งถ้าหากเทียบกับการ์ดในซีรี่ย์ HD 4000 จะรองรับแค่ UVD2 เท่านั้น

ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870

Bitstreaming audio

ณ ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆก็ทยอยเปิดตัวสินค้าของตัวเองให้รองรับ เทคโนโลยีการถอดรหัสเสียงผ่านทางพอร์ต HDMI เวอร์ชั่น 1.4a ตัวนี้ให้สามารถทำได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆจากการเปิดใช้งานไฟล์ภาพยนตร์จากแผ่นบ ลูเรย์ โดยไม่ต้องพึ่งความสามารถจากซาวด์การ์ดอีกต่อไป รวมทั้งซอฟต์แวร์มัลติมีเดียสำหรับรับชมภาพยนตร์ต่างๆอย่าง PowerDVD, WinDVD เวอร์ชั่นใหม่ๆ รวมทั้งเกมส์ใหม่ๆก็ยังตอบรับเทคโนโลยีตัวนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

Eyefinity Technology

ด้วยเทคโนโลยี DisplayPort ในเวอร์ชั่น 1.2 ที่รองรับการแสดงผล 3 มิติแล้ว เทคโนโลยีตัวนี้ก็ถูกเพิ่มเติมมากับกราฟิคการ์ดซีรี่ย์ HD 6800 ด้วย โดยเมื่อมีการต่อสายสัญญาณจากตัวการ์ดเข้ากับ MST HUB เราจะสามารถขยายช่องต่อสัญญาณเพิ่มได้อีก 3 หน้าจอ แต่ถ้าหากมีการต่อ DisplayPort อีกหนึ่งช่องด้วย HUB อีกหนึ่งชุด จะสามารถแยกการแสดงผลแบบ 6 หน้าจอได้เลย หรือที่เรียกว่า Eyefinity 6 นั่นเอง แต่ถ้าหากไม่ใช้ MST HUB มาต่อเพื่อขยายสัญญาณก็ใช่ว่าจะสามารถต่อออกจอได้ถึง 5 ชุดนะครับ จะได้แค่ 4 ชุดเท่านั้น โดยใช้พอร์ต DisplayPort 2 ช่อง, HDMI 1 ช่อง และ Dual-link DVI อีก 1 ช่อง (เสียบทั้ง 2 หัว)

ความแรงระดับกลาง Gigabyte AMD Radeon HD 6870


1
2
3
4
5
6
บทความก่อนหน้านี้วิธีแก้พาร์ทิชั่น System Reserved มีอักษรระบุไดรฟ์โผล่ขึ้นมา
บทความถัดไปGigabyte AMD Radeon HD 6970 2GB GDDR5
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่