หมดปัญหาเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ ด้วยการเพิ่มค่า DNS server

0
7154
หมดปัญหาเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ ด้วยการเพิ่มค่า DNS server
หมดปัญหาเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ ด้วยการเพิ่มค่า DNS server

ผมเชื่อเหลือเกินกับเพื่อนๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ดี โน๊ตบุ๊คก็ดี หรือจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ด้วยก็ได้ โดยเฉพาะมือใหม่ทั้งหลาย ที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านสายแลน และ/หรือ Wi-Fi กับการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ต จะได้หมายเลข IP Address มาจากตัวโมเด็มซึ่งเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบ้าน เป็นหมายเลข IP Address แบบอัตโนมัติก็ดี หรือมีการกำหนดค่าด้วยตนเอง (Manual) ก็ดี ซึ่งระบบของอุปกรณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่จะถูกกำหนดค่า DNS หรือ DNS Server (Domain Name System Server) ให้ใช้ค่าจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายนั้นๆ ซึ่งค่า DNS server ของผู้ให้บริการบางเจ้าก็ห่วยแสนห่วย ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ติดๆหลุดๆอยู่บ่อยครั้ง

แต่ก่อนไปที่การตั้งค่า ผมขอวกกลับมาที่คำว่า DNS server โดย DNS server ย่อมาจาก Domain Name System server ก็คือ เครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง Local เอง จากในเครื่อง Local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการเพราะเบอร์เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษรให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายขึ้น จึงเป็นที่มาของ DNS server

DNS ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คนนั้นก็จะเปิดสมุดโทรศัพท์ดู เพื่อค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการสื่อสารด้วยกับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ดังกล่าวทราบนั่นเอง

ดังนั้นสำหรับบทความนี้ ก็จะเป็นการขจัดปัญหาจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้บ้างไม่ได้บ้าง ด้วยการเพิ่ม/กำหนดค่า DNS server ให้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อผ่านไวเลสไร้สาย (WiFi) ด้วยฟรีบริการที่ดีที่สุดจาก Google Public DNS นั่นเอง

โดยวิธีการเปลี่ยน/เพิ่ม DNS server บนคอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊คที่ใช้ระบบปฏิบัติการ All Windows มาใช้ของ Google ก็จะมีดังนี้

fix internet problem with google dns server 01

กดปุ่มคีย์ลัด Windows + R เพื่อเปิดหน้าต่าง Run แล้วพิมพ์คีย์ค้นหา ncpa.cpl เพื่อเปิดหน้าต่าง Network Connections แล้วกด OK (หรือจะเข้าผ่านหน้าต่าง Control Panel ก็ได้ โดยเลือกหัวข้อ All Control Panel Items -> Network Connections)

fix internet problem with google dns server 02

คลิกขวาที่การ์ดแลนหรือการ์ดไวเลสแลน แล้วเลือก Preperties

fix internet problem with google dns server 03

เมื่อหน้าต่างกำหนดคุณสมบัติของการ์ดแลนหรือการ์ดไวเลสแลนเปิดขึ้นมา ก็คลิกเลือกหัวข้อ Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) แล้วเลือก Properties หรือจะดับเบิ้ลคลิกหัวข้อ Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) ขึ้นมาเลยก็ได้

fix internet problem with google dns server 04

สังเกตที่หัวข้อ Use the following DNS server addresses: ให้ใส่ค่า DNS server ของ Google Public DNS ดังนี้

Preferred DNS server: 8.8.8.8

Alternate DNS server: 8.8.4.4

และติ๊กเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ Validate settings upon exit แล้วกด OK -> OK ปิดหน้าต่างทั้งหมด ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วครับ

fix internet problem with google dns server 05

สำหรับโทรศัพท์มือถือที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านระบบ Wi-Fi อย่างการใช้ที่บ้าน ก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่หน้าการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi

fix internet problem with google dns server 06

จดจำหมายเลข IP Address และ Gateway (เกทเวย์) ที่ตัวโมเด็มส่งหมายเลข Private IP Address (ไอพีแอดเดรสภายใน) มาให้โทรศัพท์เครื่องที่เราใช้งานอยู่ แล้วทำการยกเลิกการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi โดยกดหัวข้อ ลืม (Forget)

fix internet problem with google dns server 07

แล้วกดเลือกชื่ออินเตอร์เน็ต Wi-Fi ที่เราต้องการเชื่อมต่ออีกครั้ง

fix internet problem with google dns server 08

ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ “แสดงตัวเลือกขั้นสูง”

fix internet problem with google dns server 09

ที่หัวข้อ การตั้งค่า IP จากเดิมจะถูกกำหนดไว้ให้เป็น DHCP หรือรับไอพีแอดเดรสแบบอัตโนมัติ ก็ให้เลือกเป็บแบบ คงที่

fix internet problem with google dns server 10

แล้วทำการใส่รหัสผ่าน, ไอพีแอดเดรส และ เกทเวย์

fix internet problem with google dns server 11

ที่ DNS 1 กำหนด DNS server เป็น 8.8.8.8 และ DNS 2 กำหนด DNS server เป็น 8.8.4.4 ตามลำดับ แล้วทำการเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ตามปกติครับ



บทความก่อนหน้านี้วิธีเปิดหรือปิดโหมด Grayscale บน Windows 10
บทความถัดไปวิธีเรียก Recovery Mode / Download Mode บน Samsung Galaxy S9 / S9+
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่