Create Partition with Acronis Disk Director Suite

2
3711

68901
Acronis Disk Director Suite เป็นโปรแกรมจัดการกับพาร์ทิชันบนฮาร์ดดิสต์ที่ดีอีกตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง, ลบ, ย่อ-ขยาย พาร์ทิชัน ซึ่งไม่ได้เป็นรอง Partition Magic จากฝั่ง PowerQuest เลย (ความรู้สึกจากการลองใช้งานของผมนะ เริ่มติดใจโปรแกรมตัวนี้มากกว่า Partition Magic แระ อิอิ)

ข้อดีของโปรแกรมตัวนี้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับการโกสต์วินโดวส์โดยเรียกใช้งานจากไฟล์อิมเมจโกสต์ที่ทำไว้ เมื่อสร้างพาร์ทิชันต่างๆด้วยโปรแกรมตัวนี้เสร็จเรียบร้อยด้วยแผ่นบูตอย่าง Hiren’s BootCD, Windows XPE เป็นต้น สามารถออกจากโปรแกรมแล้วเรียกใช้งานโปรแกรม Norton Ghost ต่อได้เลย ซึ่งจะไม่เหมือนกับ Partition Magic ที่จะต้องรีสตาร์ทเครื่องก่อนหลังการสร้างพาร์ทิชัน เพราะบางท่านอาจจะต้องการใช้เวลาที่มีค่าให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดนั่นเอง และในขั้นตอนของการฟอร์แมตตัวโปรแกรมจะทำการเซ็ต Active Partition ให้กับไดร์ฟ C ให้โดยอัตโนมัติด้วยครับ

ข้อเสียของโปรแกรมนี้ เมื่อคลิกขวาที่พาร์ทิชันของแต่ละพาร์ทิชันจะไม่มีหัวข้อ Check for Errors เหมือนอย่างโปรแกรม Partition Magic เช่น ถ้าหากพาร์ทิชัน C (ไดร์ฟ C) มีปัญหาจากอาการ Error ของตัววินโดวส์จะไม่สามารถเช็คหาสาเหตุของอาการ Error ของพาร์ทิชันนั้นๆได้

การเรียกใช้งานแผ่นบูต

1.เรียกใช้งานโปรแกรมบูตซีดี โดยใช้เมนูลัดบนคีย์บอร์ด ซึ่งคีย์ลัดแต่ละยี่ห้อของเมนบอร์ดจะไม่เหมือนกัน

เมนบอร์ด Asus, ECS ให้กด F8 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD
เมนบอร์ด Asrock ให้กด F11 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD
เมนบอร์ด Gigabyte ให้กด F12 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD

2.เมื่อเลือกหัวข้อสำหรับสั่งบูตซีดีได้แล้วจะเจอกับหน้าจอนี้ ให้เลือกข้อ 2. Start BootCD แล้ว Enter

68902

3.เลือกข้อ 1. Disk Partition Tools (เครื่องมือสำหรับจัดการกับพาร์ทิชันบนฮาร์ดดิสต์) แล้ว Enter

68903

4.เลือกข้อ 2. Acronis Disk Director Suite 9.0.554 (โปรแกรมสำหรับจัดการพาร์ทิชัน (พระเอก..)) แล้ว Enter

68904

การสร้างพาร์ทิชัน

1.ต่อจากรูปด้านบน ตัวโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาและจะมีโหมดการใช้งานสำหรับการสร้างพาร์ทิชันให้เลือก 2 รูปแบบ

68905

+ Automatic Mode: จะเป็นการแบ่งแบบอัตโนมัติ โดยที่เราแค่ทำการกำหนดค่าความจุต่างๆของแต่ละพาร์ทิชันเข้าไป แล้วก็ Next ไปเรื่อยๆเลยครับ

+ Manual Mode: จะเป็นการแบ่งแบบกำหนดขนาดของแต่ละพาร์ทิชันด้วยตัวเอง ซึ่งในหัวข้อนี้ถ้าหากเราไม่พอใจกับความจุของพาร์ทิชันใด เราสามารถ Resize เพื่อย่อ-ขยายความจุของพาร์ทิชันนั้นได้ และรวมถึงถ้าหากต้องการลบพาร์ทิชันเพื่อสร้างพาร์ทิชันใหม่ก็ต้องเลือกใช้งานหัวข้อ Manual Mode ตัวนี้ด้วยครับ

ในที่นี้ผมขออธิบายการสร้างพาร์ทิชันด้วยการเลือกใช้งานหัวข้อ Automatic Mode เสร็จแล้วก็กด OK จะได้ดังรูป สังเกตเห็นว่าฮาร์ดดิสต์ลูกนี้ยังไม่ได้ผ่านการฟอร์แมตหรือสร้างพาร์ทิชันขึ้นมาก่อน และที่เมนู Wizards เลือกหัวข้อ Create Partition เพื่อสร้างพาร์ทิชันแรก (ไดร์ฟ C) ขึ้นมา

68906

2.กำหนดขนาดความจุของไดร์ฟ C ตามต้องการ (ในที่นี้ผมต้องการแบ่งพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสต์ลูกนี้ออกเป็น C= 10GB, D= 27GB, E= 27GB) เมื่อกำหนดความจุของพาร์ทิชัน C เสร็จแล้วก็กด Next

68907

3.กำหนดรูปแบบของพาร์ทิชันหลัก (ไดร์ฟ C) โดยเลือก Primary Partitions แล้วกด Next

68908

4.กำหนดรูปแบบของไฟล์ระบบ ปกติจะใช้กันอยู่ 2 แบบคือ FAT32 กับ NTFS แต่ที่นิยมใช้กันใน Windows XP จะใช้รูปแบบของไฟล์ระบบแบบ NTFS ซึ่งจะมีความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลสูงกว่านั่นเอง เสร็จแล้วก็กด Next

68909

5.ใส่ชื่อของพาร์ทิชัน (ไดร์ฟ C) ตามต้องการ แล้วกด Next

68910

6.กด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการแบ่งพาร์ทิชันแรก (Primary Partition) ของฮาร์ดดิสต์

68911

7.ถัดมาจะเริ่มการสร้างพาร์ทิชันที่ 2 (Logical Partition) กันต่อ ที่เมนู Wizards คลิกเลือก Create Partition

68912

8.เลือก Unallocated space เพื่อสร้างพาร์ทิชันที่ 2 (Logical Partition)

68913

9.กำหนดขนาดของพาร์ทิชันที่ 2 ตามต้องการ

68914

9.กำหนดขนาดของพาร์ทิชันที่ 2 ตามต้องการ

68915

11.ขั้นตอนต่อไป สำหรับการสร้างพาร์ทิชันที่ 2 ก็ดูจากข้อที่ 4 ถึงข้อที่ 6 ไปได้เลยครับทุกอย่างเหมือนกัน

12.สำหรับการสร้างพาร์ทิชันที่ 3 ก็ศึกษาจากข้อที่ 7 ถึงข้อที่ 10 และย้อนกลับไปที่ข้อที่ 4 ถึงข้อที่ 6 อีกด้วยเหมือนกัน

13.เมื่อสร้างพาร์ทิชันทั้ง 3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูป

68916

14.แต่เดี๋ยวก่อนยังไม่หมดแค่นี้ ไปที่เมนู Operations > เลือก Commit เพื่อสั่งให้โปรแกรมฟอร์แมตพาร์ทิชันทั้ง 3 ด้วย

68917

15.ถึงตรงนี้ก็ใช้เวลารอไม่นานครับ แค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้นเอง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการสร้างพาร์ทิชันเรียบร้อยแล้ว

68918

16.ถ้าท่านมีไฟล์อิมเมจโกสต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากโปรแกรม Norton Ghost อยู่ก่อนแล้ว ก็ให้ออกจากโปรแกรม Acronis โดยเลือกที่เมนู Disk > Exit

68919

17.ที่พาธ R:> ให้พิมพ์ m เพื่อกลับไปที่เมนูหลักของแผ่นบูต Hiren’s BootCD (จะเป็น m เล็กหรือ M ใหญ่ก็ได้) เพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม Norton Ghost กันต่อโดยที่ไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องให้เสียเวลา

68920

18.ที่เมนูหลัก เลือกที่หัวข้อ Clone Tools… (เครื่องมือสำหรับการโคลน) แล้ว Enter

68921

19.และเลือกหัวข้อ Norton Ghost ดังรูป แล้ว Enter

68922

20.โปรแกรม Norton Ghost จะถูกเรียกขึ้นมาให้ใช้งาน

68923

หลังจากนี้ สำหรับท่านที่เป็นมือใหม่ถ้าทำตามขั้นตอนทั้งหมดที่ผมกล่าวมาเรียบร้อยแล้ว ในเรื่องของการใช้งานโปรแกรม Norton Ghost ท่านสามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูขั้นตอนการเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าวได้เลยครับผม

-> วิธีทำไฟล์อิมเมจ Ghost สำหรับการใช้งานเครื่องเดียว



คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่