5 วิธีใช้คำสั่งเช็คดิสก์ chkdsk บน Windows 10

0
10452
5 วิธีใช้คำสั่งเช็คดิสก์ chkdsk บน Windows 10
5 วิธีใช้คำสั่งเช็คดิสก์ chkdsk บน Windows 10

สำหรับวันนี้ผมจะขอพามาที่บทความพื้นๆกับ 5 วิธีการใช้คำสั่งเช็คดิสก์ Check Disk , Check Error หรือ Chkdsk บน Windows 10, Windows 8 กันสักนิดครับ สำหรับการใช้คำสั่งเช็คดิสก์ ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้ในกรณีที่ไม่คาดฝัน เช่น ในขณะที่เราใช้คอมพิวเตอร์กันตามปกติ ใช้คอมพิวเตอร์ก็อบปี้ไฟล์ข้อมูลบนฮาร์ดดิสต์ หรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่ต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสต์ แล้วหนูดันเดินมาเตะปลั๊กไฟเข้าให้ ทำให้คอมดับกระทันหัน เมื่อบูตคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ให้สันนิษฐานเอาไว้ได้เลยว่าไฟล์ใดไฟล์หนึ่งบนฮาร์ดดิสต์ต้องมีปัญหาแน่นอน และสิ่งที่ควรทำก็คือ การตรวจสภาพฮาร์ดดิสต์ ตรวจสภาพไฟล์บนฮาร์ดดิสต์ แต่บางครั้งตัวระบบ Windows อาจจะทำการตรวจสอบแล้วทำการซ่อมแซมไฟล์ระบบหรือไฟล์อื่นๆที่เสียหายให้เราเองโดยอัตโนมัติ แต่บางครั้งซ่อมแล้ว ยังไม่สมบูรณ์ เราก็ต้องสั่งให้ตัว Windows ทำการเช็คสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเราเอง

สำหรับ 5 วิธีกับการใช้คำสั่งเช็คดิสก์ chkdsk บน Windows 10, Windows 8 ก็จะมีด้วยกันดังนี้

วิธีที่ 1 เช็คสถานะของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ด้วยเครื่องมือ Security and Maintenance

โดยเข้าไปที่ Control Panel -> เลือกหัวข้อ Security and Maintenance

ถ้าฮาร์ดดิสต์ทำงานได้ปกติ จะต้องโชว์สถานะของ Drive status ว่า OK

วิธีที่ 2 เช็คสถานะของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ด้วยเครื่องมือ Error checking

โดยเปิดหน้าต่าง Windows Explorer ขึ้นมา ( หรือกดคีย์ลัด Windows + E ) แล้วคลิกขวาบนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ต้องการ แล้วเลือก Properties

ที่แท็บ Tools -> กดปุ่ม Check ที่หัวข้อ Error checking

แล้วทำการสแกนไดรฟ์ ตรงนี้จะใช้เวลานานมากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่บนฮาร์ดดิสก์เป็นหลักนะครับ

วิธีที่ 3 การใช้คอมมานด์ไลน์ chkdsk ใน Command Prompt

โดยการเรียกใช้งานก็คลิกขวาที่เมนูสตาร์ท เลือก Command Prompt (Admin)

แล้วพิมพ์คำสั่งเช็คการทำงานของไฟล์ต่างๆบนฮาร์ดดิสก์ chkdsk <switches> <drive letter>:

chkdsk ย่อมาจาก check disk (มีไว้สำหรับเช็คการทำงานของฮาร์ดดิสก์)

switches ที่ต้องนำมาใช้ร่วมกัน

  • /f จะเป็นตัวแก้ไขเออเร่อต่างๆบนฮาร์ดดิสก์
  • X: คือไดรฟ์ที่เราต้องการเช็คความผิดปกติ

หรือจะใช้คำสั่งอื่นๆเพิ่มเติมก็ได้เช่น

  • /scan จะใช้คำสั่งนี้สำหรับสแกนแบบออนไลน์บนไดรฟ์ NTFS เท่านั้น
    • /forceofflinefix จะใช้คำสั่งนี้ซ่อมแซมข้อบกพร่องทั้งหมดแบบออฟไลน์เฉพาะบนไดรฟ์ NTFS เท่านั้น และต้องใช้คู่กับ /scan ด้วย
    • /perf จะเป็นการสแกนไดรฟ์ NTFS แบบรวดเร็ว แต่จะต้องพึ่งทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆมากขึ้น
  • /offlinescanandfix ทำการสแกนและแก้ไขบนไดรฟ์ NTFS นั้นๆแบบออฟไลน์
  • /spotfix ทำการซ่อมแซมบนไดรฟ์ NTFS แบบออฟไลน์
  • /sdcclean เป็นคำสั่งสำหรับเคลียร์ไฟล์ขยะ

ส่วน 2 คำสั่งด้านล่างนี้จะใช้กับระบบ Windows 8 และ Windows 10 ที่มีไฟล์ซิสเต็มแบบ FAT/FAT32 และ EXFAT

  • /freeorphanedchains จะใช้สำหรับกู้คืนไฟล์บนคลัสเตอร์ และใช้ร่วมกับคำสั่ง /markclean หากตรวจไม่พบข้อผิดพลาดโดยไม่ต้องระบุคำสั่ง /F ลองไปด้วย
  • /markclean จะเป็นคำสั่งสำหรับทำความสะอาด หากไม่พบความเสียหายบนไดรฟ์นั้นๆ

วิธีที่ 4 เช็คเออเร่อด้วยคำสั่ง Repair-Volume กับเครื่องมือ Windows PowerShell

วิธีนี้ต้องพึ่งคอมมานด์ไลน์เป็นหลัก อาจไม่เหมาะกับมือใหม่สักเท่าไร ขนาดผมเป็นคนเรียบเรียงเองยังเล่นเอามึนเลยครับ อิอิกำ

โดยคลิกปุ่มเมนู Start แล้วพิมพ์คำสั่ง powershell แล้วคลิกขวาที่หัวข้อ powershell เลือกเปิดด้วยสิทธิ์ Run as Administrator (เพราะถ้าไม่เรียกด้วยสิทธิ์ Administrator เมื่อใช้คำสั่งด้านล่าง จะไม่เกิดผลลัพธ์ใดๆ)

รูปแบบคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจเช็คก็จะเหมือนกับคำสั่ง chkdsk ที่ใช้กับ command prompt ซึ่งมีดังนี้

  • Repair-Volume -DriveLetter <drive letter> จะเป็นการสแกนหาไฟล์ที่เสียหายบนไดรฟ์ NTFS
  • Repair-Volume -DriveLetter <drive letter> -OfflineScanAndFix จะเป็นการสแกนและแก้ไขไฟล์ที่เสียหายบนไดรฟ์ NTFS แบบออฟไลน์
  • Repair-Volume -DriveLetter <drive letter> -Scan จะเป็นการสแกนแบบออนไลน์บนไดรฟ์ NTFS เท่านั้น
  • Repair-Volume -DriveLetter <drive letter> -SpotFix จะใช้ระยะเวลาสั้นๆในการสแกนแบบออฟไลน์และไดรฟ์มีการแก้ไขปัญหาแล้วเท่านั้น โดยไฟล์/แฟ้มที่เสียหายจะถูกแยกเอาไว้

ดังรูปตัวอย่างจะใช้คำสั่ง OfflineScanAndFix ทำการสแกนและแก้ไขไฟล์ที่เสียหายบนไดรฟ์ D ก็จะใช้คำสั่ง

Repair-Volume -DriveLetter D: -OfflineScanAndFix

ตรงนี้จะใช้เวลารอสักครู่

ถ้าไม่เจอไฟล์ที่เสียหายบนไดรฟ์นั้นๆจะได้ผลลัพธ์เป็น NoErrorsFound

วิธีที่ 5 ใช้เครื่องมือ 3rd party หรือเครื่องมือจากภายนอกมาช่วยสแกนและซ่อมแซมไฟล์หรือไดรฟ์ที่เสียหาย

ด้วย EaseUS Partition Master ซึ่งเป็นเครื่องมือจัดการพาร์ทิชั่นทั้งหมดบนฮาร์ดดิสต์ แต่ซอฟต์แวร์ตัวนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับบางท่านสักเท่าไร เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องเสียเงินซื้อเท่านั้น แต่ก็ใช้งานได้นะ เราจะใช้แค่เอามาตรวจสอบและแก้ไขพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสต์เท่านั้นครับ

โดยเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ก็สามารถเลือกไดรฟ์ที่ต้องการตรวจสอบและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้ทันที



คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่