2 วิธีแก้ BootMGR is Missing บน Windows 10

0
7158
2 วิธีแก้ BootMGR is Missing บน Windows 10
2 วิธีแก้ BootMGR is Missing บน Windows 10

สำหรับบทความ 2 วิธีแก้ปัญหา BootMGR is Missing บน Windows 10 ปัญหา BootMGR is Missing

ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดจาก การปิดคอมพิวเตอร์ผิดวิธี (ชัตดาวน์), การอัพเกรดระบบที่ผิดพลาด หรือฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา เป็นต้น โดยจะเกิดขึ้นเมื่อกดปุ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และขณะเริ่มต้นกระบวนการบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows 10 แต่จะไม่สามารถบูตเข้าสู่ระบบได้ โดยจะค้างอยู่ที่หน้าจอสีดำ แล้วแสดงข้อความ BOOTMGR is missing Press Ctrl+Alt+Del to Start อย่างเดียวเท่านั้น และเมื่อกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del เพื่อบูตระบบใหม่ ก็จะวนกลับมาที่หน้าจอนี้เหมือนเดิม

สำหรับวันนี้ทางเว็บ VarietyPC.net ก็ได้นำการแก้ไขปัญหา BootMGR is Missing บน Windows 10 มานำเสนอ 2 วิธีด้วยกันดังต่อไปนี้ครับ

วิธีที่ 1 การแก้ไขปัญหา BootMGR is Missing บน Windows 10 ด้วยแผ่นติดตั้ง Windows 10 (หรือจะทำเป็นแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows 10 ก็ได้)

โดยเมื่อเลือกกระบวนการบูตด้วยแผ่นติดตั้งหรือแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows 10 ก็จะเข้าสู่หน้าจอ Windows Setup แล้วคลิก Next

คลิกหัวข้อ Repair your computer

ที่หน้า Choose an option เลือกหัวข้อ Troubleshoot

เลือกหัวข้อ Command Prompt

เมื่อหน้าต่าง Command Prompt ถูกเปิดขึ้นมา ก็ให้เปลี่ยนพาธเป็นไดรฟ์ C แล้วพิมพ์คำสั่ง DIR เพื่อลองเช็คดูว่าไดรฟ์ที่มีการติดตั้ง Windows 10 อยู่ที่ไดรฟ์นี้หรือไม่ ถ้าใช่ ก็พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ทีละคำสั่ง

Bootrec /fixmbr (เป็นการแก้ไข Master Boot Record)

Bootrec /fixboot (เป็นการแก้ไขไฟล์บูตระบบ)

Bootrec /rebuildbcd (เป็นการสร้างการกำหนดค่ากระบวนการบูตหรือ Boot Configuration Data ขึ้นมาใหม่)

chkdsk /f (ตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถ้าฮาร์ดดิสก์หรือข้อมูลระบบมีปัญหาให้ทำการซ่อมแซมทันที)

**Note บางคำสั่งอาจจะใช้งานไม่ได้ โดยขึ้นข้อความ Access is denied. ก็ไม่ต้องเป็นกังวล ให้ข้ามไปใช้คำสั่งต่อไป

วิธีที่ 2 การแก้ไขปัญหา BootMGR is Missing บน Windows 10 ด้วย Startup Repair ( Automatic Repair )

โดยวิธีที่ 2 ก็ยังจำเป็นต้องใช้แผ่นติดตั้งหรือแฟลชไดรฟ์สำหรับติดตั้ง Windows 10 และการเรียกเข้าใช้งานมายังหัวข้อ Startup Repair ก็เหมือนกับวิธีที่ 1 แต่ถ้าเป็นแผ่นติดตั้ง Windows รุ่นเก่าก็จะแสดงเป็นชื่อ Automatic Repair แทน

ที่หน้าจอ Startup Repair เลือกระบบปฏิบัติการเป็น Windows 10 (โดยส่วนใหญ่ก็จะมีให้เลือกแค่หัวข้อเดียว ยกเว้นคอมพิวเตอร์ของบางท่านอาจติดตั้งไว้หลายระบบปฏิบัติการ)

แล้วก็เพียงแค่รอให้ระบบทำการวิเคราะห์ส่วนที่เสียหายและทำการซ่อมแซมให้ทันที

เมื่อเสร็จแล้วก็คลิกหัวข้อ Shut down เพื่อทำการปิดระบบและเพื่อเปิดเครื่องเข้าสู่ระบบกันต่อไปครับ



บทความก่อนหน้านี้4 วิธี แก้จอฟ้า UNMOUNTABLE_BOOT_VOLUME บน Windows 10
บทความถัดไปวิธีจับภาพหน้าจอ (Screenshots) บน iPhone X
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่