2 วิธีปิด Driver Signature Enforcement บน Windows 10

0
8074
2 วิธีปิด Driver Signature Enforcement บน Windows 10
2 วิธีปิด Driver Signature Enforcement บน Windows 10

สำหรับ 2 วิธีปิด Driver Signature Enforcement บน Windows 10 หรือการปิดการบังคับใช้ลายเซ็น Driver Signature Enforcement

ถ้าเป็นผู้ใช้งานทั่วๆไปที่ไม่ค่อยได้ติดตั้ง Windows และไม่ได้ติดตั้งไดร์เวอร์ให้อุปกรณ์ IO ต่างๆด้วยตัวเองก็คงค่อนข้างไปทางงงกันเลยว่าเจ้า Driver Signature Enforcement มันคืออะไร

หลักๆก็คือตั้งแต่ยุคของ Windows 8 เป็นต้นมา จนปัจจุบันเป็น Windows 10 ทางไมโครซอฟท์ได้เพิ่มฟีเจอร์สำหรับป้องกันการติดตั้งไดร์เวอร์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ในระบบฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ นั่นก็เพราะเพื่อความปลอดภัยต่อการติดตั้งไดร์เวอร์กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดการทำงานที่ผิดพลาดขึ้นได้ในภายหลังนั่นเอง เช่น Blue screen of death ( BSOD ) หรือ จอฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ถ้าผู้ใช้งานที่ต้องการติดตั้งไดร์เวอร์ต่างๆให้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของตน โดยไม่สนใจกับปัญหาต่างๆที่อาจจะตามมา นั่นก็เพราะอุปกรณ์ที่เราจะเอามาเชื่อมต่อบางตัวมันมีไดร์เวอร์เฉพาะเจาะจง และไม่สามารถหาดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ผู้ผลิตและไม่ได้เจาะจงว่าต้องรองรับระบบปฏิบัติรุ่นล่าสุด ซึ่งจริงๆแล้วก็สามารถติดตั้งได้แต่ระบบ Windows กลับบล็อคเอาไว้ไม่ให้ติดตั้ง เราก็สามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยการปิดการทำงานของการบังคับใช้ลายเซ็น Driver Signature Enforcement ได้ด้วย 2 วิธีให้เลือกใช้งานกันดังต่อไปนี้ครับ

วิธีที่ 1 การปิด Driver Signature Enforcement ด้วย Command Prompt

โดยคลิก Start แล้วพิมพ์คีย์เวิร์ด CMD จะได้ผลการค้นหาเป็น Command Prompt แล้วคลิกขวาเลือก Run as administrator (ถ้าไม่เปิด command prompt ด้วยสิทธิ์แอดมิน คำสั่งที่จำเป็นต้องใช้จะไม่ทำงาน)

พิมพ์คำสั่ง bcdedit /set testsigning on แล้วกด Enter 1 ครั้ง เพื่อเปิดใช้งาน Test mode แล้วรีสตาร์ทเครื่องใหม่

หลังจากนี้ ถ้าติดตั้งไดร์เวอร์ให้อุปกรณ์ที่ต้องการเสร็จและไร้ปัญหาแล้ว เราก็จะใช้คำสั่ง

bcdedit /set testsigning off เพื่อเปิดให้ Driver Signature Enforcement กลับมาทำงานเหมือนเดิมครับ

วิธีที่ 2 การปิด Driver Signature Enforcement ด้วย Startup Settings

โดยคลิกปุ่ม Start -> Settings

เลือกหัวข้อ Update & Security

เลือกหัวข้อ Recovery แล้วกดปุ่ม Restart now

ตรงนี้ก็รอระบบเริ่มกระบวนการบูตใหม่

ระบบจะพามาที่หน้าจอ Choose an option เลือกหัวข้อ Troubleshoot

เลือกหัวข้อ Advanced options

เลือกหัวข้อ Startup Settings

จะมีการแสดงรายการที่อยู่ภายใน 1 ในนั้นก็คือ Disable driver signature enforcement ตรงนี้ให้กดปุ่ม Restart ทางขวามือ

ทำการกดปุ่มตัวเลข 7 บน numpad ซึ่งจะเป็นรายการของ Disable driver signature enforcement

หลังจากนี้ก็เพียงแต่รอให้ระบบปฏิบัติการบูตเข้าสู่หน้าจอเดสก์ทอปตามปกติ แล้วทำการติดตั้งไดร์เวอร์ที่ระบบบล็อคเอาไว้ไม่ให้ติดตั้งกันต่อไปได้เลยครับ



บทความก่อนหน้านี้วิธีแก้ ติดตั้ง Windows 10 ใหม่ แต่อ่านภาษาไทยไม่ได้
บทความถัดไปวิธีแก้ You need permission to perform this action บน Windows 10
varietypc
ส่วนตัวชื่นชอบการเขียน, พัฒนาซอร์สโค้ดเว็บไซต์เป็นชีวิตจิตใจ ตลอดจนถึงอัพเดตเนื้อหาทริค, เทคนิคคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีทุกอย่าง นอกเหนือจากการเคลียร์งานหลักเสร็จเรียบร้อย ก็จะมาทิ้งชีวิตให้กับ VarietyPC.net กันต่อแทบทุกวัน แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้อัพเดตเนื้อหา เพราะต้องพัฒนาระบบการจัดการ Backend หลังบ้านไปด้วยและมีคนทำเพียงคนเดียว แม้จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากแหล่งใดๆก็ตาม ตอนนี้เว็บไซต์เล็กๆแห่งนี้ก็ใกล้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วครับ และจะยังคงอยู่แชร์ความรู้กับพี่น้อง เพื่อนๆคนไทย และทั่วโลกตลอดไปครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับข่าว/บทความนี้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่